22 ส.ค. 2556

การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (1)

ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีตัวกลาง เช่น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง นอกจากนี้อาจจะมีผู้รับผิดชอบในการกำหนดกฎเกณฑ์ในการส่งหรือรับข้อมูลตามรูปแบบที่ต้องการ
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
     1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
          เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่อยู่ต้นทาง โดยข้อมูลต้องถูกจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์ส่งข้อมูล เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์  โมเด็ม  จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม เป็นต้น

   2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับ รับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ฯลฯ

     3. โปรโตคอล  (Protocol)
โปรโตคอล คือ กฎระเบียบ หรือวิธีการใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP, X.25, SDLC  เป็นต้น

     4. ซอฟต์แวร์ (Software)
การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับดำเนินการ และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell’s Netware, UNIX, Windows NT, Windows 2003 ฯลฯ

      5. ข่าวสาร (Message)
เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้
                  5.1  ข้อมูล (Data)  เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว
                  5.2  ข้อความ (Text)  อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจนนับจำนวนได้ค่อนข้างยาก และมีความสามารถในการส่งปานกลาง
                 5.3 รูปภาพ (Image)  เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวีดีโอ ซึ่งข้อมูลชนิดนี้จะต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บ และใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก
                  5.4  เสียง (Voice)  อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจาย ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้ การส่งจะทำได้ด้วยความเร็ว ค่อนข้างต่ำ

        6. ตัวกลาง (Medium)
เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับ หรืออุปกรณ์รับปลายทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่ สายไป ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก ตัวกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น



ขอบคุณ  ที่มาบทความ  http://chalad.wordpress.com/subject/31241-2/31241-lesson-3/

การจัดหาซอฟต์แวร์มาใช้งาน


การจัดหาซอฟต์แวร์มาใช้งาน    

     เราสามารถจัดหาซอฟต์แวร์มาใช้งาน ได้โดยเลือกซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ดังนี้
  
             1.    แบบสำเร็จรูป ( Packaged หรือ Ready – made Software ) วิธีการนี้ผู้ใช้งานสามารถที่จะเข้าไปเดินหาซื้อได้
กับตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทผู้ผลิตโดยตรง ซึ่งมักจะมีการเตรียมบรรจุภัณฑ์และเอกสาร
คู่มือการใช้งานไว้อยู่แล้ว ผู้ใช้สามารถที่จะหยิบเลือกซื้อได้เมื่อพอใจในตัวสินค้าซอฟต์แวร์นั้น ๆ และนำไปติดตั้งเพื่อใช้งานได้
โดยทันที กรณีที่ไม่สามารถเลือกซื้อผ่านร้านตัวแทนจำหน่ายได้ อาจเข้าไปในเว็บไซต์ของบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์นั้น ๆ
 แล้วกรอกข้อมูลรายการชำระเงินผ่านแบบฟอร์มบนเว็บ เมื่อรายละเอียดเกี่ยวกับการจ่ายชำระเงินของผู้ซื้อได้รับการอนุมัติ
ก็สามารถนำเอาซอฟต์แวร์ดังกล่าวมาใช้ได้ทันที
            2.  แบบว่าจ้างทำ (Customized หรือ Tailor-made Software )

กรณีที่บางองค์กรมีลักษณะงานที่เป็นแบบเฉพาะของตนเองและไม่สามารถนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์
ใช้ได้ ก็สามารถที่จะผลิตขึ้นมาเองหรือว่าจ้างให้บุคคลภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะทำการผลิต
ซอฟต์แวร์ออกมาให้ตรงตามคุณสมบัติที่ต้องการ ซึ่งวิธีการนี้อาจมีค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างให้เขียนซอฟต์แวร์
ที่มีต้นทุนแพงกว่าแบบสำเร็จรูปอยู่พอสมควร

3.  แบบทดลองใช้   (Share ware )ในการใช้งานโปรแกรม ผู้ใช้งานอาจมีความต้องการเพียงแค่อยาก 
ทดสอบการใช้งานของโปรแกรมนั้น ๆ ก่อนว่าดีหรือไม่ และจะเหมาะสมกับงานที่ทำอยู่อย่างไรบ้าง บริษัทผู้ผลิต
จึงมักจะมีโปรแกรมเพื่อให้ลูกค้าทดลองใช้งานก่อนได้ แต่อาจจะมีการกำหนดระยะเวลาทดลองใช้งานหรือ
เงื่อนไขอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย เช่น ใช้ได้ภายใน 30 วัน หรือปรับลดคุณสมบัติบางอย่างลงไป วิธีการนี้ทำให้ผู้ใช้
สามารถทดลองใช้ก่อนตัดสินใจซื้อได้ ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีให้ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต
โดยทั่วไป ซึ่งจะหาได้ตามเว็บไซต์ของผู้ผลิตโดยตรงหรือเว็บไซต์ที่ให้บริการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์โดยเฉพาะ

4. แบบใช้งานฟรี (Free ware)ปัจจุบันเราสามารถเลือกหาโปรแกรมที่แจกให้ใช้กันฟรี ๆ เพื่อตอบสนองกับ
การทำงานที่หลากหลายมาได้โดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแหล่งบริการดาวน์โหลดบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักจะ
เป็นโปรแกรมขนาดเล็กและใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้ผลิตแต่อย่างใด แต่
เนื่องจากเป็นของที่ให้ใช้กันฟรี ๆ จึงอาจจะไม่มีคู่มือหรือเอกสารประกอบอย่างละเอียดเหมือนกับที่ต้องเสียเงินซื้อ เนื่องจากเป้าหมายของผู้ผลิตคือ ต้องการพัฒนาโปรแกรมเพื่อเผยแพร่ผลงานของตนเองให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
และทดสอบระบบที่พัฒนาเพียงเท่านั้น อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะแจกให้ใช้ฟรี ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ลิขสิทธิ์
ก็ยังเป็นของบริษัทผู้ผลิตอยู่ ไม่สามารถนำไปพัฒนาต่อหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดให้ 

5. แบบโอเพนซอร์ส (Open source)ในบางองค์กรที่มีกลุ่มบุคคลผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนา
ซอฟต์แวร์พอสมควร หากต้องการใช้ซอฟต์แวร์แต่ไม่ต้องการเสียเวลาในการพัฒนาที่ยาวนานจนเกินไป อาจจะ
เลือกใช้กลุ่มของซอฟต์แวร์ที่มีการเปิดให้แก้ไขปรับปรุงตัวโปรแกรมต่าง ๆ ได้เอง อีกทั้งยังไม่ถือว่าเป็น
การละเมิดลิขสิทธิ์ใด ๆ ด้วย ซึ่งบางครั้งเรียกซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ว่า โอเพ่นซอร์ส (open source ) ซึ่งผู้ใช้งาน
สามารถที่จะนำเอาโค้ดต่าง ๆ ไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ได้ตามความต้องการได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดหรือ
ระบุไว้ของผู้ผลิตดั้งเดิม 

ซอฟต์แวร์ประยุกต์

ความหมาย .... ?      
                          ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( application software) หมายถึง โปรแกรมที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่างตามความต้องการของผู้ใช้ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ได้รับความนิยม เช่น  โปรแกรมประมวลคำ  โปรแกรมการคำนวณ โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล เป็นต้น โปรแกรมประยุกต์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน กับ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป

มีกี่ประเภท ..... ?  

                 1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งโดยเฉพาะ  เช่น โปรแกรมคำนวณภาษีของกรมศุลกากร  โปรแกรมระบบสินค้าของห้างโลตัส เป็นต้น
                2.  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป (General purpose software)  เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เช่น การพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน  การออกแบบเว็๋บไซต์ ซอฟต์ประยุกต์ทั่วไปสามารถแบ่งได้ดังนี้
                    2.1  ซอฟแวร์จัดการฐานข้อมูล 
                    2.2 ซอฟต์แวร์ประมวลคำ
                    2.3  ซอฟต์แวร์การคำนวณ
                    2.4   ซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล
                    2.5   ซอฟต์แวร์ด้านกราฟิกและมัลติมิเดีย
                    2.6  ซอฟต์แวร์การใช้งานบนอินเตอร์เน็ตและการติดต่อสื่อสาร

เลือกใช้อย่างไร .... ?
              1. สำรวจการทำงานที่ต้องใช้ซอฟต์แวร์
              2. สำรวจความพร้อมของฮาร์ดแวร์
              3. ทดลองใช้ซอฟต์แวร์
              4. ศึกษาเปรียบเทียบกับซอฟต์แวร์อื่น ที่ใกล้เคียงกัน
              5. ศึกษาเปรียบเทียบความสามารถของโปรแกรมว่าตรงตามความต้องการหรือไม่
              6. ศึกษาบริการหลังการข่ายและระยะเวลาการรับประกัน
              7. ทำความคุ้นเคยกับซอฟต์แวร์ก่อนนำไปใช้งานและควรเลือกบริษัทผู้ผลิตที่เปิดให้ใช้งานฟรีหรือทดลองใช้นานๆ (อย่างน้อย 30 วัน)

19 ส.ค. 2556

ลักษณะของระบบปฏิบัติการแบบไหน ....


ลองคิด ... ระบบปฏิบัติ ประเภทไหน 

                   มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว (เจ้าของเครื่องนั้นๆ)

                   มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลายๆคน (multi-user)      

                   พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอหรือ smart phone บางรุ่น

                   นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ

                   สนับสนุนการทำงานแบบเคลื่อนที่ได้เป็นอย่างดี   ........................................

                มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไปที่ต้องการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน

                   นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตามบ้านหรือสำนักงาน

                   รองรับการทำงาน เช่น พิมพ์รายงาน ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต

                   บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว เช่น ดูหนัง ฟังเพลงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้   
                   ปัจจุบันสามารถเป็นเครื่องลูกข่ายเพื่อขอรับบริการจากเครื่องแม่ข่ายได้ด้วย

                                           เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้จะเรียกว่า เครื่อง server (เครื่องแม่ข่าย)

ระบบปฏิบัติการมีกี่ประเภท ...


ระบบปฏิบัติการมีกี่ประเภท .... ?

ประเภทของระบบปฏิบัติการ  อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

                 ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand-Alone OS)

                 ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS)

                 ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS)

ประเภทที่ 1    ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand-Alone OS) 

                   มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว (เจ้าของเครื่องนั้นๆ)
                         นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน
                         รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์รายงาน ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
                         ปัจจุบันสามารถเป็นเครื่องลูกข่ายเพื่อขอรับบริการจากเครื่องแม่ข่ายได้ด้วย

ตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand-Alone OS)
      •                   MS-DOS

                   Windows 3.x

                   Windows95

                   Windows98

                   Windows Millennium Edition

                   Window XP

                   Window Vista

                   Window 7

ประเภทที่ 2  ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS)

                   มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลายๆคน (multi-user)

                   นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ

                   มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป

                   เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้จะเรียกว่า
เครื่อง server (เครื่องแม่ข่าย)

  ตัอย่างระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS)

                   Mac OS X

                   Windows NT

                   Windows 2000 Professional

                   OS/2 Warp Client

                   Unix

                   Linux

                   Solaris

ประเภทที่ 3  ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS)

                   พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอหรือ smart phone บางรุ่น

                   สนับสนุนการทำงานแบบเคลื่อนที่ได้เป็นอย่างดี 

                   บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว เช่น ดูหนัง ฟังเพลงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้

      ตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS)

                   Windows Mobile หรือ Windows CE

                   Palm OS

                   Symbian OS

                   OS X

                   Android

 

8 ส.ค. 2556

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ


ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ  (Introduction to Operating System)

ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์
     จุดประสงค์ของระบบปฏิบัติการ  คือการจัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นในการประมวลผลแก่ผู้ใช้ เพื่อให้ความสะดวกสบาย แก่ผู้ใช้และมีการใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

อะไรคือระบบปฏิบัติการที่แท้จริง ระบบปฏิบัติการหรือ OS เป็นได้ทั้ง
                   ซอฟต์แวร์
                   ฮาร์ดแวร์
                   เฟิร์มแวร์(Firmware)
                   หรือผสมผสานกันก็ได้
เป้าหมายการทำงานของ OS
     คือสามารถให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบกลไกการทำงานของฮาร์ดแวร์

ซอฟแวร์ OS    คือ OS ที่เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
ฮาร์ดแวร์ OS   คือ OS ที่ถูกสร้างขึ้นจากอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนหนึ่งของฮาร์ดแวร์ของเครื่องด้วย มีหน้าที่เช่นเดียวกัน
        ข้อดี ในการสร้างฮาร์ดแวร์ OS ก็เพราะมันสามารถทำงานได้รวดเร็วกว่าซอฟต์แวร์ OS
    –    ข้อเสีย การปรับปรุงแก้ไข OS นั้นยุ่งยากอาจำทำไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีราคาแพงอีกด้วย การเปลี่ยนแปลงครั้งหนึ่ง นั่นหมายถึง การสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ก็ว่าได้
เฟิร์มแวร์ OS    คือ OS ที่เขียนขึ้นโดยใช้คำสั่งไมโคร ทำให้มีความเร็วสูงกว่าซอฟต์แวร์ OS แต่ยังช้ากว่า ฮาร์ดแวร์ OS การแก้ไขเฟิร์มแวร์ OS ค่อนข้างยากและค่าใช้จ่ายมาก แต่ยังถูกว่าการเปลี่ยนแปลงฮาร์ดแวร์ OS

                 เฟิร์มแวร์ หมายถึง ส่วนโปรแกรมที่เก็บไว้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเหล่านี้เรียกว่า ไมโครโปรแกรม(Microprogram) แต่ละโปรแกรมประกอบขึ้นจากคำสั่งหลายๆ คำสั่ง คำสั่งเหล่านี้เรียกว่า คำสั่ง ไมโคร(Microinstruction) คำสั่งไมโครเป็นชุดคำสั่งในระดับที่ต่ำที่สุดของระบบของคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานของซีพียูในทุกๆขั้นตอน

สรุป   ระบบปฏิบัติการ คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เป็นตัวเชื่อมหรือประสานงาน ระหว่างผู้ใช้งานกับฮาร์ดแวร์ของเครื่อง ให้สามารถทำงานโดยสะดวก โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้กลไกการทำงานของเครื่องก็สามารถที่จะใช้งานคอมพิวเตอร์ได้
            ถ้าเราแบ่งส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 
                                                  ส่วนของเครื่อง
                                                  ระบบปฏิบัติการ
                                                  โปรแกรมประยุกต์และผู้ใช้
                  ส่วนของเครื่อง ประกอบด้วย CPU, หน่วยความจำ และ อุปกรณ์รับและแสดงผล ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็น ทรัพยากรคอมพิวเตอร์
            โปรแกรมประยุกต์ (ตัวแปลภาษา ระบบฐานข้อมูล,โปรแกรมทางธุรกิจ เป็นต้น) เป็นตัวกำหนดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหาของผู้ใช้ ซึ่งอาจจะมีผู้ใช้ หลายคนใช้คอมพิวเตอร์ทำงานหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน
                  ระบบปฏิบัติการจะต้องควบคุม และประสานงานระหว่างโปรแกรมประยุกต์ ของผู้ใช้เหล่านี้รวมทั้งจัดสรรทรัพยากรให้อย่างเหมาะสม

          ดังนั้นเราจะกล่าวได้ว่า ระบบปฏิบัติการคือโปรแกรมโปรแกรมหนึ่งซึ่งทำงานอยู่ตลอดเวลา เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้และจัดสรรทรัพยากรให้แก่ผู้ใช้ได้เหมาะสม

 

5 ส.ค. 2556

ระบบปฏิบัติการ คือ อะไร

ระบบปฏิบัติการคืออะไร  
              ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์

จุดประสงค์ของระบบปฏิบัติการ คือการจัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นในการประมวลผลแก่ผู้ใช้ เพื่อให้ความสะดวกสบาย แก่ผู้ใช้และมีการใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

รายละเอียดเพิ่มเติม   คลิกที่นี่

ระบบปฏิบัติการ คือ อะไร..... ?