14 ก.ย. 2558

ข้อมูลและสารสนเทศ


ความหมายและประเภทของข้อมูลและสารสนเทศ



   
ข้อมูลคือ  ..... ?

 ข้อมูล(Data)   คือ  ข้อเท็จจริง  ที่ได้รับจากประสาทสัมผัสหรือสื่อต่าง ๆที่ยังไม่ผ่าน       การวิเคราะห์ หรือการประมวลผล  โดยข้อมูลอาจเป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ตัวอักษร เสียง    ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

การแบ่งประเภทของข้อมูลขึ้นอยู่กับ    
     - ความต้องการของผู้ใช้
     - ลักษณะของข้อมูลที่นำไปใช้
     - เกณฑ์ที่นำมาพิจารณา




การแบ่งข้อมูลตามแหล่งข้อมูลที่ได้รับ   : พิจารณาจากลักษณะของที่มาหรือการได้รับข้อมูล  ได้แก่ 

 - 
ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)  คือ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรงด้วยวิธีต่างๆ เช่น จากการสอบถามการสัมภาษณ์การสำรวจการจดบันทึกตัวอย่างข้อมูลปฐมภูมิ  ได้แก่  ข้อมูลการมาโรงเรียนสายของนักเรียน

 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ซึ่งได้จากการจดบันทึกในรอบ  1  เดือนที่ผ่านมา 
                            ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)  คือ  การนำข้อมูลที่ผู้อื่นได้เก็บรวบรวมหรือบันทึกไว้มาใช้งานผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมและบันทึกด้วยตนเอง  จัดเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต  มักผ่านการประมวลผลแล้ว   ตัวอย่างข้อมูลทุติยภูมิ  ได้แก่  สถิติการมาโรงเรียนสายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ในปีพ.ศ.2550   



การแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในในสื่ออิเล็กทรอนิกส์    มีลักษณะคล้ายการแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล  แต่มีการแยกลักษณะข้อมูลตามชนิดและนามสกุลของข้อมูลนั้น ๆ  ได้แก่ 
    ข้อมูลตัวอักษร เช่น  ตัวหนังสือ  ตัวเลข  และสัญลักษณ์  ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น  .txt  และ  .doc 

 - ข้อมูลภาพ  เช่น  ภาพกราฟิกต่าง ๆ และภาพถ่ายจากกล้องดิจิทัล ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น  .bmp  .gif  และ .jpg 
ข้อมูลเสียง  เช่น  เสียงพูด  เสียงดนตรี  และเสียงเพลง ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น .wav  .mp3  และ  .au 
 - ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว  เช่น  ภาพเคลื่อนไหว  ภาพมิวสิกวีดีโอ  ภาพยนตร์  คลิปวิดีโอ ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น  .avi 

............................................................................................................
สารสนเทศ   คือ .....? 

สารสนเทศ(Information)  คือ  สิ่งที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูล  เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ในด้านการวางแผน  การพัฒนา  การควบคุม  และการตัดสินใจ  


การจัดการสารสนเทศ 

          การจัดการสารสนเทศมี  3  ขั้นตอน  คือ  การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล และการดูแลรักษาข้อมูล



การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล   
            เป็นขั้นตอนแรกในการจัดการสารสนเทศ  ซึ่งควรกระทำควบคู่กันไป  คือ  เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วก็ทำการตรวจสอบข้อมูลนั้นทันที  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความต้องการมากที่สุด
            1. การเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นการจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก  จึงควรกำหนดว่าจะต้องใช้ข้อมูลอะไร 
บ้าง  ข้อมูลได้มาจากไหน  และจัดเก็บข้อมูลนั้นมาได้อย่างไร
           2. การตรวจสอบข้อมูล  เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อได้สารสนเทศ 
ที่คุณภาพ




การประมวลผลข้อมูล 

การประมวลผลข้อมูล  คือ  การนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วหรือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมและตรวจสอบมากระทำเพื่อให้ข้อมูลเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ  ดังนี้
      1. การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล     เป็นการแยกประเภทของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาอย่างเป็นระบบตามกลุ่มและประเภทของข้อมูลนั้น  เพื่อให้สามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้อาจเก็บไว้ในรูปของแฟ้มเอกสารหรือแฟ้มข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
      2. การจัดเรียงข้อมูล  เป็นขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล  เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาหรืออ้างอิงข้อมูลในอนาคต
      3. การคำนวณ   เป็นการประมวลผลที่ต้องการผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่มีความละเอียดถูกต้อง  แม่นยำเนื่องจากที่รวบรวมและจัดเก็บมานั้นอาจมีทั้งรูปแบบของข้อความและตัวเลข  ซึ่งต้องมีการคำนวณหาค่าเฉลี่ยหรือ ผลรวมของข้อมูลนั้น ๆ
      4. การทำรายงาน  เป็นการประมวลผลที่มีความสลับซับซ้อนมากที่สุด  โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่ ข้อมูลในอนาคต  ผู้ดำเนินการจะต้องสรุปข้อมูลเพื่อทำรายงานให้ตรงกับความต้องการในการใช้สารสนเทศ นั้น ๆ โดยจะต้องนำเสนอรายงานในรูปแบบที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการสารสนเทศ



การดูแลรักษาข้อมูล 
        การดูแลรักษาข้อมูล  เป็นขั้นตอนการจัดการสารสนเทศมีจุดประสงค์หลักเพื่อป้องกันและเก็บรักษาข้อมูล ไม่ให้สูญหาย  ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลสำหรับนำกลับมาใช้ใหม่ในอนาคต
         1. การจัดเก็บ  คือการนำข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบและประมวลผลแล้วมาบันทึกเข้าสู่ระบบข้อมูล
อย่างมีระเบียบและเป็นหมวดหมู่  เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งาน  ทั้งนี้อาจจัดเก็บไว้ในรูปแบบของแฟ้มเอกสาร 
สิ่งพิมพ์หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
        2. การทำสำเนา  คือ  การเพิ่มจำนวนข้อมูลด้านปริมาณ  โดยเนื้อหาของข้อมูลจะไม่เปลี่ยนแปลงไป 
จากต้นฉบับหรือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว  สามารถกระทำได้โดยการคัดลอกทั้งจากมนุษย์หรือ 
เครื่องจักรต่าง ๆ  ซึ่งเป็นเครื่องถ่ายเอกสารหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้
        3. การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล  คือ  การนำสำเนาที่ทำเพิ่มไว้แจกจ่ายให้แก่ผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้อง
        4. การปรับปรุงข้อมูล  คือ  การแก้ไขปรับปรุงรายการข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน  อาจกระทำโดยการแก้ไขข้อมูลบางส่วนหรือบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมลงในระบบข้อมูล

...................................................................................................................................................................

วิธีการประมวลผลข้อมูล 


       การประมวลผลข้อมูล      สามารถทำได้  2  วิธี  คือ  การประมวลผลแบบกลุ่มและการประมวลผลแบบทันที  ดังนี้
       
1. การประมวลผลแบบกลุ่ม  ข้อมูลของการประมวลผลแบบนี้จะถูกเก็บสะสมไว้ในช่วงเวลาที่กำหนด  เช่น 7  วัน  หรือ  1  เดือน  แล้วจึงนำข้อมูลที่สะสมไว้มาประมวลผลรวมกันครั้งเดียว  เช่น  การคำนวณค่าบริการน้ำประปา  โดยข้อมูลปริมาณน้ำที่ใช้ทั้งหมดจะถูกเก็บบันทึกไว้ในรอบ  1  เดือน  แล้วจึงนำมาประมวลผลเป็น ค่าน้ำประปาในครั้งเดียว การประมวลผลแบบนี้มักมีความผิดพลาดสูง  แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผลน้อย

      2. การประมวลผลแบบทันที      เป็นการประมวลผลที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรับข้อมูลหรือหลังจากได้รับข้อมูลทันที  เช่นการฝากและถอนเงินธนาคาร  เมื่อลูกค้าฝากเงิน  ข้อมูลนั้นจะถูกประมวลผลทันที  ทำให้ยอดฝากในบัญชีนั้นมีการเปลี่ยนแปลง  การประมวลผลแบบนี้จะมีความผิดพลาดน้อย  แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผลมาก




27 พ.ค. 2558

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ซอร์ฟแวร์ บุคลากร ข้อมูลและขั้นตอนปฏิบัติงาน

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้งานในระบบสารสนเทศ แบ่งตามการทำงานของคอมพิวเตอร์ดังนี้

  • หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ได้แก่ อุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ เช่น Keyboard ,Mouse ,Scanner เป็นต้น
  • หน่วยประมวลผลกลาง หรือซีพียู (CPU: Central Processing Unit)  มีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หรือชิป (Chip) ภายในประกอบไปด้วยทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆรวมอยู่มากภายในคอมพิวเตอร์ โดยจะเรียกซีพียูว่า“โพรเซสเซอร์” ใช้ในการประมวลผล
  • หน่วยความจำ (Memory Unit) เป็นหน่วยที่ทำงานเร็วมากที่สุด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
        1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) ใช้บันทึกโปรแกรมและข้อมูล ที่รู้จักทั่วไป คือ แรม,รอม และซีมอส
        2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage Devices) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์,แผ่นซีดี และยูเอสบีแฟลชไดรฟ์
  • หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลที่ได้จากการประมวลผล เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ Projectorเป็นต้น

2. ซอฟต์แวร์ (Software) คือ โปรแกรมหรือคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์
   1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นโปรแกรมหรือคำสั่งควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์    แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมอรรถประโยชน์
  • ระบบปฏิบัติการ (OS: Operating System) เป็นชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้กับผู้ใช้ เช่น Windows XP ,Linux เป็นต้น
  • โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ดูแลความปลอดภัยและเสถียรภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมWinZip ,Windows Explorer เป็นต้น
   2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานในด้านต่างๆตามความต้องการของผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น Microsoft Office ,Media player และPhotoScape เป็นต้น

3. บุคลากร (People ware) คือ คนที่ปฏิบัติงานในด้านคอมพิวเตอร์  โดยในระบบสารสนเทศแบ่งได้ 4 ระดับ คือ นักวิเคราะห์ระบบ โปรแกรมเมอร์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่อง และผู้ใช้
  • นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่มีหน้าที่วิเคราะห์ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์หรือระบบสารสนเทศที่ต้องการ ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น หาแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุง อาจมีการออกแบบและสร้างระบบสารสนเทศขึ้นใหม่โดยประสานงานกับโปรแกรมเมอร์
  • โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้ที่รับระบบสารสนเทศที่ได้จัดทำไว้จากนักวิเคราะห์ มาเขียนหรือสร้างให้เป็นโปรแกรม เพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้ตามผลลัพธ์ที่ต้องการ
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่อง (Operator) คือ ฝ่ายที่ทำหน้าที่ติดตั้งโปรแกรมลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งบริการด้านการใช้งาน ควบคุมการทำงาน และรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
  • ผู้ใช้ (User) เป็นผู้ใช้งานระบบสารสนเทศโดยตรง

4. ข้อมูล (Data) ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่ง และในชีวิตประจำวันเราก็มีการบันทึกข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในภายหลังอยู่เสมอ

5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน มีกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศอยู่ 4 ขั้นตอนหลัก คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ การประมวลผลข้อมูล การแสดงผล และการจัดเก็บข้อมูล

25 พ.ค. 2558

ระบบสารสนเทศ

  ในปัจจุบันระบบสารสนเทศมีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานรัฐบาลหรือเอกชน โดยอาศัยกระบวนข้อมูลข่าวสารที่มีิอยู่ กระบวนที่ทำให้เกิดสารสนเทศนี้เรียกว่า การประมวลผลสารสนเทศ (Information Technology) และเรียกวิธีการประมวลผล
สารสนเทศด้วยเครื่องมอืทางอิเล็กทรอนิกส์ นี้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ มากจากคำ 2 คำา นั่นคือ เทคโนโลยี และ สารสนเทศ 

เทคโนโลยี หมายถึง   การนำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ 
สารสนเทศ หมายถึง   ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว การประมวลผลที่ว่านี้ เช่น การวิเครราะห์ การจัดลำดับ การเรียงข้อมูล  เป็นต้น




  ระบบสารสนเทศ (Information System ) หมายถึง ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ หรือจัดการกับข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ข้อมุลนั้นกลายเป็นสารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้อง

 ระบบสารสนเทศประกอบด้วยองค์ประกอบ   ดังนี้
                      1. Hardware หมายถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการจัดกระทำกับข้อมูล ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคิดเลข
                       2. Software หมายถึง ชุดคำสั่ง หรือเรียกให้เข้าง่ายว่า โปรแกรม ที่สามารถสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานในลักษณะที่ต้องการภายใต้ขอบเขตความสามารถที่เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมนั้น ๆ สามารถทำได้ ซอร์ฟแวร์แบ่งออกเป็น ซอร์ฟแวร์ระบบ และ ซอร์ฟแวร์ประยุกต์
                      3 User หมายถึง กลุ่มผุ้คนที่ทำงานหรือเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ
                      4. Data  หมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวหนังสือ แสง สี เสียง สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์  ภาพ วัตถุ หรือ หลาย ๆ อย่างผสมผสานกัน ซึ่งข้อมูลที่ดีจะต้องตรงกับความต้องการของผู้ใช้
                       5. Procedure หมายถึง  ขั้นตอน กระบวนการต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานในระบบสารสนเทศ
                  




 เมื่อทั้่ง 5 ส่วนดังกล่าวข้างต้น ทำงานประสานกัน ส่งผลให้ข้อมูลเกิดการประมวลผลและนำไปใช้ประโยชน์ นั่นก็คือ สารสนเทศ นั่นเอง       ซึ่งสารเสนทศนี้จะเป็นสารสนเทศที่ดี จะต้องเป็นสารสนเทศที่มีความถูกต้องตรงกับความต้องการของผู้ใช้และทันเวลาในการใช้งาน
             กล่าวโดยสรุปก็คือ กระบวนการสารสนเทศเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดสารเสนเทศขึ้นมานั่นเอง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน นั่นคือ  Hardware Software User  Procedure และ Data

             นักเรียนสามารถศึกษาเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศได้จาก  ที่นี่      


8 ก.พ. 2558

บริการบนอินเตอร์เน็ต


 บริการบนอินเทอร์เน็ต 

    บริการบนอินเทอร์เน็ต เป็นบริการเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านการสื่อสารของผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม และองค์กร ในปัจจุบันมีการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการแบ่งปันความคิด ข้อมูล สารสนเทศ รวมถึงความรู้ โดยอาศัยเครื่องมือ เทคโนโลยีหรือบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต 

    1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล (e-mail) เป็นบริการรับส่งจดหมายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ โดยสามารถส่งได้ทั้งข้อความ และไฟล์ต่างๆ ซึ่งผู้รับและผู้ส่งต้องมีที่อยู่อีเมล (e-mail address) เพื่อระบุตัวตนบนเครือข่าย เปรียบเสมือนกับเป็นที่อยู่ที่ใช้รับและส่งจดหมาย 
เกร็ดน่ารู้ 
การใช้อีเมลให้มีประสิทธิภาพ 
ข้อเด่นประการหนึ่งของการใช้งานอีเมลคือ ผู้ส่งสามารถส่งข้อความไปยังผู้รับ พร้อมกับทำสำเนาข้อความไปให้กับบุคคลอื่นด้วย ในการทำสำเนาข้อความผู้ส่งควรคำนึงถึงสถานการณ์การใช้งานและเลือกใช้ให้ถูกต้อง 
    - การใช้ cc (carbon copy: cc) ใช้ในกรณีที่ต้องการส่งสำเนาอีเมลถึงคนรับคนอื่น โดยผู้รับจะเห็นว่าสำเนาถึงใครบ้าง 
    - การใช้ bcc (blind carbon copy: bcc) ใช้ในกรณีที่ต้องการส่งสำเนาอีเมลถึงผู้รับคนอื่น โดยไม่ต้องการให้ทราบว่าสำเนาถึงใครบ้าง 
มารยาทของการสื่อสารผ่านอีเมล 
    1.ใช้หัวเรื่องที่สรุปสาระสำคัญของเนื้อหาในอีเมล 
    2 เขียนเนื้อหาให้มีสาระในการสื่อสารที่ชัดเจน 
    3. เขียนข้อความให้กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ เหมาะสมกับกาลเทศะ และลงชื่อผู้เขียนทุกครั้ง 
    4. ใช้ bcc ในการระบุผู้รับ เมื่อส่งข้อความถึงผู้รับจำนวนมาก เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้รับที่ระบุใน bcc 
    5.อย่าใช้อักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ ซึ่งแสดงถึงการตะโกน หรือการข่มขู่ผู้อ่าน 
    6. จัดระเบียบข้อความเป็นย่อหน้าเพื่อสะดวกต่อการอ่าน 
    7.ใช้ภาษาที่เหมาะสมและตัวสะกดที่ถูกต้อง 
    8. ใช้การตอบกลับ (reply) แทนการเขียน (compose) ข้อความใหม่ เพื่อให้สามารถติดตามเรื่องราวของอีเมลที่เกี่ยวข้องกันได้สะดวก 
    9.ใช้การตอบกลับไปยังทุกคน (reply all) เมื่อจำเป็น เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในการตอบอีเมลนั้น 
    10.ใช้อักษรตัวย่อ หรือสัญรูปอารมณ์ที่ไม่ฟุ่มเฟือยจนเกินไป และคาดหวังว่าผู้รับสามารถเข้าใจได้ 

    
2. การสื่อสารในเวลาจริง (real time communication) 
เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่สามารถโต้ตอบกลับได้ทันทีผ่านเครือข่ายการสื่อสาร สามารถส่งเป็นข้อความภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ไปยังผู้รับ ในการสื่อสารนี้ผู้ใช้จะต้องเข้าใช้ระบบในเวลาเดียวกันและข้อความจะถูกส่งจากผู้ใช้คนหนึ่งไปยังผู้ใช้ทุกคนในกลุ่มได้ ตัวอย่างการสื่อสารในเวลาจริง เช่น การแชท ห้องคุย และ วอยซ์โอเวอร์ไอพี 
แชท (Chat) 
เป็นการสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต ทั้งระหว่างบุคคล 2 คนหรือระหว่างกลุ่มบุคคลโดยอาศัยโปรแกรมประยุกต์เช่น Windows Live และ Yahoo messenger 
ห้องคุย (Chat room) 
เป็นการสนทนาที่ผู้ใช้สามารถเลือกประเภทของหัวข้อการสนใจซึ่งแบ่งไว้เป็นห้องต่างๆ เพื่อพูดคุยกันระหว่างบุคคลหรือเป็นกลุ่ม การสนทนารูปแบบนี้อำนวยความสะดวก เพิ่งประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดเวลาในการสื่อสารข้อความไปยังบุคคลต่างๆ โดยอาจสื่อสารในรูปข้อความ การแบ่งปันไฟล์ หรือการใช้เว็บแคมควบคู่กันไประหว่างการสื่อสารตัวอย่างห้องคุย เช่น CHATABLANCA 
เกร็ดน่ารู้ 
การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่าย 
เช่น การแชท การส่งอีเมล และการส่งเอสเอ็มเอส ผู้รับและผู้ส่งสามารถแสดงอารมณ์ในการสื่อสารด้วยสัญลักษณ์ที่เรียกว่า สัญรูปอารมณ์ emotion เช่น ใช้เครื่องหมาย : - ) แทนการยิ้ม หรือใช้ : - ( แสดงอารมณ์เบื่อ หรือ ไม่ถูกใจ โดยในปัจจุบันสัญรูปต่างๆ มีการพัฒนาเป็นภาพ ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ มากมายให้ผู้ใช้เลือกใช้ได้ตามต้องการ เพื่อแสดงอารมณ์ในรูปแบบต่างๆ 
วอยซ์โอเวอร์ไอพี หรือ วีโอไอพี (Voice over IP : VoIP) 
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินเทอร์เน็ตเทเลโฟนี (Internet telephony) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถคุยกับผู้อื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยวอยซ์โอเวอร์ไอพีในอินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อเข้ากับคู่สนทนาที่อาจอยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือพื้นที่ห่างไกลออกไป โดยเสียงของผู้พูดจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปสัญญาณดิจิทัลแล้วส่งผ่านอินเทอร์เน็ตไปถึงผู้รับปลายทาง 
เกร็ดน่ารู้ 
ข้อควรระวังในระหว่างการสนทนากับคนแปลกหน้าที่พบกันบนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เกิดความปลอดภัยของบุคคล มีดังนี้ 
    1.ไม่ควรให้รายละเอียดส่วนตัว เช่น ที่อยู่ หายเลขโทรศัพท์ และ รูปภาพ ที่อาจนำมาสู่การคุกคามที่ไม่พึ่งประสงค์ 
    2.ไม่ควรหลงเชื่อในคำพูด โดยขาดการไตร่ตรองถึงเหตุผลที่เหมาะสม 
    3.ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของเพื่อน หรือคนรู้จักโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ 
    4.ไม่ควรไปพบคู่สนทนาที่ไม่รู้จักกันมาก่อนแบบต่อหน้า ไม่ว่าสถานการณ์ใดทั้งสิ้นถ้ามีความจำเป็นให้ปรึกษาครู หรือผู้ปกครองก่อนเสมอ 
    5.ไม่ควรรับแฟ้มข้อมูลที่ส่งมา โดยไม่มีการยืนยันจากผู้ส่ง เพราะอาจเป็นแฟ้มที่ส่งโดยไวรัสคอมพิวเตอร์


3. เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม (social networking Web sites) 
    เป็นชุมชนออนไลน์ที่สมาชิกในชุมชนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยเป้าหมายในการเป็นจุดเชื่อมโยงเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ โดยอาจเชื่อมโยงผ่านกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งผู้ใช้มีความสนใจร่วมกัน เช่น การแบ่งปันวีดิทัศน์ การเล่าสู่กันฟังถึงประสบการณ์ที่ได้รับ การแสดงความรู้สึกหรือความคิดเห็น การทำความรู้จักกัน การมีส่วนร่วมในการอภิปราย และการรวบรวมกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ หรือให้ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเชิงวิชาการ ข้อมูลในการประกอบอาชีพ เช่น facebook, myspace, Linkedin, hi5 และ GotoKnow 


4. บล็อก (blog) 
    เป็นระบบการบันทึกข้อมูลลำดับเหตุการณ์ในแต่ละวัน ประสบการณ์ความคิดของผู้เขียนบล็อกผ่านเว็บไซต์ ในรูปแบบการนำเสนอหัวข้อ ซึ่งผู้อื่นสามารถอ่านและแสดงความคิดเห็นได้ รายการหัวข้อที่ปรากฏในบล็อกมักจะเรียงลำดับหัวข้อที่นำเสนอล่าสุดไว้ที่ส่วนบนคำว่า “บล็อก” มาจากคำว่า “เว็บล็อก (web log)” เนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏมีลักษณะเป็นการบันทึกข้อมูลผ่านเว็บที่มีการระบุวันเวลารวมถึงผู้บันทึกข้อมูลแต่ละหัวข้อไว้ หัวข้อข้อมูลหรือความเห็นที่ถูกนำเสนอในบล็อกอาจจัดทำโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เป็นเจ้าของบล็อก หรือบุคคลที่มีความสนใจร่วมกัน หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเหมือนกันจนเกิดชุมชนในบล็อกขึ้น ข้อมูลและความเห็นสามารถนำเสนอในรูปของข้อความ ภาพ หรือ มัลติมิเดียได้ เช่น Blogger, GooggleBlog และ BLOGGANG 
 

5. ไมโครบล็อก (microblog) 
    เป็นบล็อกที่มีการแสดงหัวข้อและความคิดเห็นที่กระชับ กะทัดรัด ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกสามารถเลือกหัวข้อจากบล็อกอื่นให้มาปรากฏในไมโครบล็อกของตนเอง หรือเลือกตามสมาชิกอื่นได้ ตัวอย่างไมโครบล็อก เช่น twitter , yammer , Jaiku และ tumblr 


  6.   วิกิ (wiki )         เป็นรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลที่บุคคลต่างๆ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะเรื่อง สามารถมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ให้ข้อมูลใหม่ หรือเป็นผู้ปรับปรุงข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้ถูกต้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายละเอียดของข้อมูลที่เผยแพร่ก่อให้เกิดประโยชน์กับบุคคลทั่วไป หรือกลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ผู้สอนและผู้เรียนสมารถใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน องค์กรธุรกิจสามารถใช้เป็นที่รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวกับการดำเนินการสำหรับให้บุคคลในองค์กรใช้อ้างอิงในการปฏิบัติงาน ผู้ใช้สามารถเรียกดูประวัติการปรับปรุงข้อมูลย้อนหลังได้ ดังนั้นวิกิจึงเหมาะสำหรับการเก็บรวบรวมรายละเอียดของเอกสารที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างวิกิ เช่น Wiki pedia , WIKIBOOKS 

 
7. อาร์เอสเอส (Really Simple Syndication: RSS ) 

    เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เป็นประจำได้แบบอัตโนมัติ โดยผู้ใช้ต้องขอรับบริการ (subscribe) ผู้ใช้ไม่ต้องเข้าไปยังเว็บไซต์ที่สนใจต่างๆโดยตรง เพื่ออ่านข้อมูลที่ได้รับการปรับปรุงในแต่ละวันด้วยตนเองทีละเว็บไซต์ ซึ่งแต่ละเว็บไซต์อาจมีความถี่ในการปรับปรุงข้อมูลแตกต่างกันไป ผู้ใช้สามารถรับข้อมูลที่มีการให้บริการเผยแพร่แบบอัตโนมัตินี้ โดยคลิกปุ่มสัญลักษณ์ หรือ RSS หรือ XML ที่ปรากฏบนหน้าเว็บ แล้วคลิกที่ปุ่มสัญลักษณ์ดังกล่าว เพื่อรวบรวมแหล่งข้อมูลที่ขอรับบริการไว้เป็นสัดส่วนที่สะดวกการเข้าถึง โดยมีอาร์เอสเอสรีดเดอร์ (RSS reader) หรือ ฟีดรีดเดอร์ (Feed reader) หรือคอนเทนท์ แอกกรีเกเตอร์(content aggregator) ทำหน้าที่คอยติดตามการปรับปรุงของข้อมูลที่ได้รับบริการไว้ ทำให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมไปยังข้อมูลที่เผยแพร่ได้มีการปรับปรุงให้ทันสมัยได้โดยตรง ช่วยประหยัดเวลาในการเข้าถึงข้อมูล สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ที่สนใจที่มีอยู่มากมายได้อย่างครบถ้วน 



8. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( electronic commerce หรือ e – commerce ) 
    เป็นการทำธุรกรรมซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซด์เป็นสื่อในการนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ รวมถึงการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้เข้าใช้บริการจากทุกที่ทุกประเทศ หรือทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงร้านค้าได้ง่ายและตลอด 24 ชั่วโมง ตัวอย่าง เช่น ร้านขายหนังสือบนอินเทอร์เน็ตสามารถนำเสนอรายการและตัวอย่างหนังสือบนเว็บได้ มีระบบค้นหาหนังสือที่ลูกค้าต้องการ โดยดูตัวอย่างหนังสือก่อน และถ้าต้องการสั่งซื้อ ก็สามารถสั่งซื้อได้โดยกรอกแบบฟอร์มการสั่งซื้อ พร้อมทั้งเลือกวิธีการชำระเงินค่าหนังสือทีมีหลายรูปแบบ เช่น ระบบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ระบบการโอนเงินผ่านธนาคาร หรือระบบการนำส่งสินค้าแล้วจึงค่อยชำระเงิน ตัวอย่างการซื้อสินค้าบนอินเทอร์เน็ต
..............................................................................................................................................................

ที่มา  :  https://sites.google.com/site/kruyutsbw

2 ก.พ. 2558

Domain Name และ IP Address

ชื่อโดเมน (Domain Name)
ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม ( domain name) หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ หรืออีเมลแอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบ โดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส ของชื่อนั้นๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้งเราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนก็ได้

โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน  เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป

อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" คั่นด้วย "." โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร ตัวอักษรตัวใหญ่ A - Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน

1 ไอพีแอดเดรส สามารถใช้โดเมนเนมได้มากกว่า 1 โดเมนเนม และหลายๆ โดเมนเนมอาจจะใช้ไอพีแอดเดรสเดียวกันได้

ความแตกต่างระหว่าง Domain Name URL และ Subdomain
ยูอาร์แอล     :     http://www.example.com/
โดเมนเนม    :    example.com
ซับโดเมน     :    subdomain.example.com

การจดทะเบียนชื่อโดเมน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
  • การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ
  • การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ
การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ
  1. .com ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้งเว็บไซต์ส่วนตัว และมีบางครั้งนำไปใช้ทำเว็บไซต์ (web site) ประเภทอื่นๆ ด้วย
  2. .net ใช้ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค (network) ของคอมพิวเตอร์ หรือเว็บไซต์บริการอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย
  3. .org ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ บางครั้งก็มีการจดทะเบียนนำไปใช้กับเว็บไซต์ประเภทอื่นด้วย
การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ
  1. .co.th ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป
  2. .or.th ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ และชื่อโดเมนต้องเป็นชื่อขององกร หรือตัวย่อของชื่อองค์กรนั้นๆ ต้องใช้สำเนาเอกสารทางราชการเป็นหลักฐานการจดทะเบียน
  3. .ac.th ใช้ทำเว็บไซต์ของสถานศึกษาต่างๆ ชื่อของโดเมนที่จดทะเบียนต้องเป็นชื่อของสถานศึกษานั้นๆ หรือชื่อย่อของชื่อสถานศึกษา ใช้สำเนาเอกสารการขออนุญาตก่อตั้งสถานศึกษาเป็นหลักฐาน
  4. .go.th ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการของประเทศไทย โดยปกติจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่
  5. .in.th ใช้ทำเว็บไซต์ของบุคคลธรรมดาโดยทั่วไป ชื่อโดเมนจะใช้ชื่ออะไรก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้นโยบายชื่อโดเมน ของ THNIC การจดโดเมนนี้ ใช้สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาใบขับขี่เป็นหลักฐานการจดทะเบียน
หลักที่ใช้ในการตั้งชื่อโดเมน
  1. ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
  2. สามารถใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกับตัวเลข หรือเครื่องหมายขีด (-) ได้
  3. ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ใช้ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ได้
  4. ห้ามใช้เครื่องหมายขีด (-) นำหน้าชื่อ domain
  5. ห้ามเว้นวรรคในชื่อโดเมน
เว็บไซต์ปกติโดยทั่วไป จะมีทั้งแบบจดทะเบียนและไม่จดทะเบียน ที่แบบไม่จดทะเบียนนั้น ก็อาจจะได้แก่ เว็บไซต์ที่ฝากไว้ตามเซิร์ฟเวอร์ฟรีต่างๆ อย่างเช่น geocities.com, hypermart.net เป็นต้น ซึ่งเว็บไซต์เหล่านี้ เราสามารถสร้างขึ้น และนำไปอัพโหลดได้ทันที โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด และอีกประเภทหนึ่ง คือ แบบจดทะเบียน นั่นคือคุณต้องทำการจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์ของคุณ ให้เป็น .com, .net, .org และอื่นๆ แล้วแต่ประเภทของเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งหากคุณเป็นเว็บไซต์ประเภทส่วนบุคคล หรือการค้า ก็เป็น.com และถ้าหากคุณเป็นบริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับเครือข่าย ก็อาจจะใช้.net และถ้าหากเป็นประเภท องค์กร ก็จะใช้.org บางครั้ง คุณอาจจะเห็นเป็น .co.th นั่นก็หมายความว่า เป็นเว็บไซต์ประเภทการค้า ซึ่งจดทะเบียนภายในประเทศไทย .ac.th ก็หมายความว่า เป็นเว็บไซต์ของสถานศึกษาที่จดทะเบียนในประเทศไทย จะเห็นได้ว่า ถ้าลงท้ายด้วย.th .uk .jp ฯลฯ แสดงว่าเป็นเว็บไซต์ที่จดทะเบียนในประเทศนั้นๆ ส่วนที่ไม่มีชื่อประเทศต่อท้าย ก็จะจดที่ประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งหมด
      
ตัวอย่างเว็ปไซต์ที่ใช้ในการจดโดเมนเนม
1. Web ที่ให้บริการจด domain เป็นหลัก (ให้บริการจด dot com นั่นเอง)
  1. NetworkSolutions.com
  2. Register.com
  3. SiamDomain.com
  4. DomainAtCost.com
  5. NameZero.com
2. Web ที่ให้บริการพื้นที่สร้างเว็บ (แต่ไม่รับจด dotcom โดยตรง)
  1. se-ed.net
  2. Thai.net
  3. Geocities.com
  4. Nbci.com
  5. Hypermart.net
3. Web ที่ให้บริการจด domain พร้อม พื้นที่สร้างเว็บ
  1. Thcity.com
  2. topsiam.com
  3. thailandhosting.net
  4. siamsavehost.com

4. ISP (Co-location หรือ Dedicate server)
ผู้ให้บริการ internet ของไทย (ISP - Internet Service Provider)
ISP หลายแห่งรับ web hosting ด้วยนะครับ บางแห่งครบวงจรเลยครับ ทำทุกอย่าง เพื่อบริการที่ดีที่สุด
  1. บริษัท เคเอสซี คอมเอร์เชียล อินเทอร์เน็ต ในกลุ่มบริษัทเคเอสซี KSC
  2. บริษัท อินเทอร์ประเทศไทย รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมINET
  3. บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ อินฟอร์เมชัน ในเครือล็อกซ์เล่ย์ LOXINFO
  4. บริษัท อินโฟแอคเซส ในเครือวัฎจักร INFONEWS
  5. บริษัท สามารถอินโฟเน็ต ในกลุ่มบริษัทสามารถ SAMART Cybernet
  6. บริษัท เอ-เน็ต จำกัด ในเครือนิว คอร์ปอเรชัน A-Net Internet
  7. บริษัท เวิลด์เน็ต แอนด์ เซอร์วิสเซส ในเครือยูคอม APRICOT
  8. บริษัท ไอเน็ต ประเทศไทย Asiaaccess
  9. บริษัท ไอเดีย เน็ต Idea net
  10. บริษัท ดาต้าลายไทย ในเครือดาต้าแมท Line thai
  11. บริษัท เอเชีย อินโฟเน็ต ในเครือเทเลคอมเอเชีย Asia net
  12. บริษัท ซี.เอส. คอมมิวนิเคชัน ในกลุ่มชินวัตร CS internet

ขอบคุณข้อมูลจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/ชื่อโดเมน
http://www.thaiall.com/article/dotcom.htm

IP Address
       เลขที่อยู่ไอพี หรือชื่ออื่นเช่น ที่อยู่ไอพี, หมายเลขไอพี, เลขไอพี, ไอพีแอดเดรส คือหมายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต (IP) คล้ายกับหมายเลขโทรศัพท์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเราท์เตอร์ เครื่องแฟกซ์ จะมีหมายเลขเฉพาะตัวโดยใช้เลขฐานสอง จำนวน 32 บิต โดยการเขียนจะเขียนเป็นชุด 4 ชุด โดยแต่ละชุดจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับระบบเลขฐานสิบ จึงมักแสดงผลโดยการใช้เลขฐานสิบ จำนวน 4 ชุด ซึ่งแสดงถึงหมายเลขเฉพาะของเครื่องนั้น สำหรับการส่งข้อมูลภายในเครือข่ายแลน แวนหรือ อินเทอร์เน็ต โดยหมายเลขไอพีมีไว้เพื่อให้ผู้ส่งรู้ว่าเครื่องของผู้รับคือใคร และผู้รับสามารถรู้ได้ว่าผู้ส่งคือใคร
      การสื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ จึ่ง ได้มีการกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครื่อง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ
  1. Network Address
  2. Computer Address

       ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับไอพีแอดเดรส อย่างน้อย พีซีที่ต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ตต้องมีการกำหนดไอพีแอดเดรส
คำว่าไอพีแอดเดรส จึงหมายถึงเลขหรือรหัสที่บ่งบอก ตำแหน่งของเครื่องที่ต่ออยู่บน อินเทอร์เน็ต เช่นเครื่อง nontri.ku.ac.th เป็นเมล์ เซิร์ฟเวอร์และคอมมูนิเคชันเซิร์ฟเวอร์ของมหาวิทยาลัย มีหมายเลขไอพี 158.108.2.71
ตัวเลขรหัสไอพีแอดเดรสจึงเสมือนเป็นรหัสประจำตัวของเครื่องที่ใช้ ตั้งแต่พีซี ของผู้ใช้จนถึงเซิร์ฟเวอร์ให้บริการอยู่ทั่วโลก ทุกเครื่องต้องมีรหัสไอพีแอดเดรสและต้องไม่ซ้ำกันเลยทั่วโลก
ไอพีแอดเดรสที่ใช้กันอยู่นี้เป็น ตัวเลขไบนารีขนาด 32 บิตหรือ 4 ไบต์

11101001110001100000001001110100
แต่เมื่อต้องการเรียกไอพีแอดเดรสจะเรียกแบบไบนารีคงไม่สะดวก จึงแปลงเลขไบนารี หรือเลขฐานสองแต่ละไบต์ ( 8 บิต ) ให้เป็นตัวเลขฐานสิบโดยมีจุดคั่น
11101001110001100000001001110100
158 .108 .2 .71
ขอบคุณข้อมูลจาก