2 ก.พ. 2558

Domain Name และ IP Address

ชื่อโดเมน (Domain Name)
ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม ( domain name) หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ หรืออีเมลแอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบ โดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส ของชื่อนั้นๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้งเราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนก็ได้

โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน  เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป

อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" คั่นด้วย "." โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร ตัวอักษรตัวใหญ่ A - Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน

1 ไอพีแอดเดรส สามารถใช้โดเมนเนมได้มากกว่า 1 โดเมนเนม และหลายๆ โดเมนเนมอาจจะใช้ไอพีแอดเดรสเดียวกันได้

ความแตกต่างระหว่าง Domain Name URL และ Subdomain
ยูอาร์แอล     :     http://www.example.com/
โดเมนเนม    :    example.com
ซับโดเมน     :    subdomain.example.com

การจดทะเบียนชื่อโดเมน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
  • การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ
  • การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ
การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ
  1. .com ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้งเว็บไซต์ส่วนตัว และมีบางครั้งนำไปใช้ทำเว็บไซต์ (web site) ประเภทอื่นๆ ด้วย
  2. .net ใช้ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค (network) ของคอมพิวเตอร์ หรือเว็บไซต์บริการอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย
  3. .org ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ บางครั้งก็มีการจดทะเบียนนำไปใช้กับเว็บไซต์ประเภทอื่นด้วย
การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ
  1. .co.th ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป
  2. .or.th ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ และชื่อโดเมนต้องเป็นชื่อขององกร หรือตัวย่อของชื่อองค์กรนั้นๆ ต้องใช้สำเนาเอกสารทางราชการเป็นหลักฐานการจดทะเบียน
  3. .ac.th ใช้ทำเว็บไซต์ของสถานศึกษาต่างๆ ชื่อของโดเมนที่จดทะเบียนต้องเป็นชื่อของสถานศึกษานั้นๆ หรือชื่อย่อของชื่อสถานศึกษา ใช้สำเนาเอกสารการขออนุญาตก่อตั้งสถานศึกษาเป็นหลักฐาน
  4. .go.th ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการของประเทศไทย โดยปกติจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่
  5. .in.th ใช้ทำเว็บไซต์ของบุคคลธรรมดาโดยทั่วไป ชื่อโดเมนจะใช้ชื่ออะไรก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้นโยบายชื่อโดเมน ของ THNIC การจดโดเมนนี้ ใช้สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาใบขับขี่เป็นหลักฐานการจดทะเบียน
หลักที่ใช้ในการตั้งชื่อโดเมน
  1. ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
  2. สามารถใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกับตัวเลข หรือเครื่องหมายขีด (-) ได้
  3. ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ใช้ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ได้
  4. ห้ามใช้เครื่องหมายขีด (-) นำหน้าชื่อ domain
  5. ห้ามเว้นวรรคในชื่อโดเมน
เว็บไซต์ปกติโดยทั่วไป จะมีทั้งแบบจดทะเบียนและไม่จดทะเบียน ที่แบบไม่จดทะเบียนนั้น ก็อาจจะได้แก่ เว็บไซต์ที่ฝากไว้ตามเซิร์ฟเวอร์ฟรีต่างๆ อย่างเช่น geocities.com, hypermart.net เป็นต้น ซึ่งเว็บไซต์เหล่านี้ เราสามารถสร้างขึ้น และนำไปอัพโหลดได้ทันที โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด และอีกประเภทหนึ่ง คือ แบบจดทะเบียน นั่นคือคุณต้องทำการจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์ของคุณ ให้เป็น .com, .net, .org และอื่นๆ แล้วแต่ประเภทของเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งหากคุณเป็นเว็บไซต์ประเภทส่วนบุคคล หรือการค้า ก็เป็น.com และถ้าหากคุณเป็นบริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับเครือข่าย ก็อาจจะใช้.net และถ้าหากเป็นประเภท องค์กร ก็จะใช้.org บางครั้ง คุณอาจจะเห็นเป็น .co.th นั่นก็หมายความว่า เป็นเว็บไซต์ประเภทการค้า ซึ่งจดทะเบียนภายในประเทศไทย .ac.th ก็หมายความว่า เป็นเว็บไซต์ของสถานศึกษาที่จดทะเบียนในประเทศไทย จะเห็นได้ว่า ถ้าลงท้ายด้วย.th .uk .jp ฯลฯ แสดงว่าเป็นเว็บไซต์ที่จดทะเบียนในประเทศนั้นๆ ส่วนที่ไม่มีชื่อประเทศต่อท้าย ก็จะจดที่ประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งหมด
      
ตัวอย่างเว็ปไซต์ที่ใช้ในการจดโดเมนเนม
1. Web ที่ให้บริการจด domain เป็นหลัก (ให้บริการจด dot com นั่นเอง)
  1. NetworkSolutions.com
  2. Register.com
  3. SiamDomain.com
  4. DomainAtCost.com
  5. NameZero.com
2. Web ที่ให้บริการพื้นที่สร้างเว็บ (แต่ไม่รับจด dotcom โดยตรง)
  1. se-ed.net
  2. Thai.net
  3. Geocities.com
  4. Nbci.com
  5. Hypermart.net
3. Web ที่ให้บริการจด domain พร้อม พื้นที่สร้างเว็บ
  1. Thcity.com
  2. topsiam.com
  3. thailandhosting.net
  4. siamsavehost.com

4. ISP (Co-location หรือ Dedicate server)
ผู้ให้บริการ internet ของไทย (ISP - Internet Service Provider)
ISP หลายแห่งรับ web hosting ด้วยนะครับ บางแห่งครบวงจรเลยครับ ทำทุกอย่าง เพื่อบริการที่ดีที่สุด
  1. บริษัท เคเอสซี คอมเอร์เชียล อินเทอร์เน็ต ในกลุ่มบริษัทเคเอสซี KSC
  2. บริษัท อินเทอร์ประเทศไทย รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมINET
  3. บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ อินฟอร์เมชัน ในเครือล็อกซ์เล่ย์ LOXINFO
  4. บริษัท อินโฟแอคเซส ในเครือวัฎจักร INFONEWS
  5. บริษัท สามารถอินโฟเน็ต ในกลุ่มบริษัทสามารถ SAMART Cybernet
  6. บริษัท เอ-เน็ต จำกัด ในเครือนิว คอร์ปอเรชัน A-Net Internet
  7. บริษัท เวิลด์เน็ต แอนด์ เซอร์วิสเซส ในเครือยูคอม APRICOT
  8. บริษัท ไอเน็ต ประเทศไทย Asiaaccess
  9. บริษัท ไอเดีย เน็ต Idea net
  10. บริษัท ดาต้าลายไทย ในเครือดาต้าแมท Line thai
  11. บริษัท เอเชีย อินโฟเน็ต ในเครือเทเลคอมเอเชีย Asia net
  12. บริษัท ซี.เอส. คอมมิวนิเคชัน ในกลุ่มชินวัตร CS internet

ขอบคุณข้อมูลจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/ชื่อโดเมน
http://www.thaiall.com/article/dotcom.htm

IP Address
       เลขที่อยู่ไอพี หรือชื่ออื่นเช่น ที่อยู่ไอพี, หมายเลขไอพี, เลขไอพี, ไอพีแอดเดรส คือหมายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต (IP) คล้ายกับหมายเลขโทรศัพท์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเราท์เตอร์ เครื่องแฟกซ์ จะมีหมายเลขเฉพาะตัวโดยใช้เลขฐานสอง จำนวน 32 บิต โดยการเขียนจะเขียนเป็นชุด 4 ชุด โดยแต่ละชุดจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับระบบเลขฐานสิบ จึงมักแสดงผลโดยการใช้เลขฐานสิบ จำนวน 4 ชุด ซึ่งแสดงถึงหมายเลขเฉพาะของเครื่องนั้น สำหรับการส่งข้อมูลภายในเครือข่ายแลน แวนหรือ อินเทอร์เน็ต โดยหมายเลขไอพีมีไว้เพื่อให้ผู้ส่งรู้ว่าเครื่องของผู้รับคือใคร และผู้รับสามารถรู้ได้ว่าผู้ส่งคือใคร
      การสื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ จึ่ง ได้มีการกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครื่อง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ
  1. Network Address
  2. Computer Address

       ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับไอพีแอดเดรส อย่างน้อย พีซีที่ต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ตต้องมีการกำหนดไอพีแอดเดรส
คำว่าไอพีแอดเดรส จึงหมายถึงเลขหรือรหัสที่บ่งบอก ตำแหน่งของเครื่องที่ต่ออยู่บน อินเทอร์เน็ต เช่นเครื่อง nontri.ku.ac.th เป็นเมล์ เซิร์ฟเวอร์และคอมมูนิเคชันเซิร์ฟเวอร์ของมหาวิทยาลัย มีหมายเลขไอพี 158.108.2.71
ตัวเลขรหัสไอพีแอดเดรสจึงเสมือนเป็นรหัสประจำตัวของเครื่องที่ใช้ ตั้งแต่พีซี ของผู้ใช้จนถึงเซิร์ฟเวอร์ให้บริการอยู่ทั่วโลก ทุกเครื่องต้องมีรหัสไอพีแอดเดรสและต้องไม่ซ้ำกันเลยทั่วโลก
ไอพีแอดเดรสที่ใช้กันอยู่นี้เป็น ตัวเลขไบนารีขนาด 32 บิตหรือ 4 ไบต์

11101001110001100000001001110100
แต่เมื่อต้องการเรียกไอพีแอดเดรสจะเรียกแบบไบนารีคงไม่สะดวก จึงแปลงเลขไบนารี หรือเลขฐานสองแต่ละไบต์ ( 8 บิต ) ให้เป็นตัวเลขฐานสิบโดยมีจุดคั่น
11101001110001100000001001110100
158 .108 .2 .71
ขอบคุณข้อมูลจาก

ไม่มีความคิดเห็น: