ระบบปฏิบัติการแบบฝัง Embedded OS
ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS) ส่วนใหญ่ใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา เช่น Palm Pocket Pc , Smart phone ซึ่งอาจแบ่งได้ดังนี้
1. Windows Mobile เป็นระบบปฏิบัติการที่ผลิตโดยบริษัทไมโครซอฟท์ การทำงานของระบบปฏิบัติการนี้ เป็นลักษณะย่อความสามารถของ Windows ให้มีขนาดเล็กเหมาะกับการทำงานมากขึ้น สามารถรองรับการทำงานแบบ Multi-tasking ได้ เช่น ท่องเว็บ ค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต ไปพร้อม ๆ กับการฟังเพลง ถ้าผู้ใช้เคยใช้ระบบปฏิบัติการ Windows มาก่อนจะใช้งานได้ง่ายและสะดวกมาก เนื่องจากรูปแบบและหน้าต่างการทำงานจะคล้าย ๆ กัน ปัจจุบันมีใช้ในเครื่อง PDA และโทรศัพท์มือถือประเภท Smart phone
2. Palm OS เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา พัฒนามาก่อน Windows mobile ปัจจุบันพัฒนาให้มีส่วนประสานงานหรืออินเตอร์เฟสให้น่าใช้มากกว่าเดิม และรองรับการทำงานผ่านเว็บด้วยสำหรับเครื่องบางรุ่น โดยตั้งชื่อใหม่ว่า Web OS
3. Symbian OS เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายโดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือประเภท Smart phone สนับสนุนการทำงานแบบ Multi-tasking ทำให้โทรศัพท์มือถือสามารถท่องเว็บ รับส่งอีเมลล์ รวมถึงแฟกซ์ได้ในเวลาเดียวกัน ผลิตโดยบริษัทซิมเบียน ปัจจุบันมีบริษัทมือถือ เช่น Sony Ericsson Motorola Nokia และ Sumsung ได้นำระบบปฏิบัติการนี้ไปใช้แล้ว
4. OS X เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่อง iPhone ซึ่งเป็นทั้งโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบพกพา เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับที่ใช้ในเครื่อง Mac รองรับการทำงานแบบ Multi-tasking มีโปรแกรมที่มาช่วยอำนวยความสะดวกร่วมด้วย เช่น ระบบเมลล์แบบ HTML การท่องเว็บด้วยบราวเซอรื Safari ระบบจัดการข้อมูลส่วนตัว ปฏิทินกำหนดการ
5. Android ระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์พกพา พัฒนาโดยบริษัท Google มีโปรแกรมใช้งาน เช่น SMS ปฏิทินกำหนดการ บราวเซอร์ สมุดโทรศัพท์ โปรแกรมดูวีดีโอจาก Youtube สารานุกรมออนไลน์ Wiki Mobile และแผนที่นำทางของ Google maps
ที่มา หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้แต่ง วิโรจน์ ชัยมูล สุพรรษา ยวงทอง
18 ธ.ค. 2553
15 ธ.ค. 2553
Network OS
ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย Network OS
4. OS/2 Warp Server เป็นระบบปฏิบัติการที่เหมาะสำหรับเครือข่ายในองค์กร พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็ม แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม และเลิกพัฒนาไปแล้ว
1. Windows Server เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ ผลิตมาเพื่อรองรับการใช้งานในระดับองค์กรขนาดเล้กและขนาดกลาง ส่วนใหญ่เหมาะกับการติดตั้งและใช้งานกับเครื่องแม่ข่าย (Server) ผลิตโดยบริษัทไมโครซอฟท์
2. Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่มักใช้กับผู้ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก รองรับการทำงานของผู้ใช้หลาย ๆ คน พร้อมกัน (Multi-User) การปรับเปลี่ยนและแก้ไขระบบต่าง ๆ มีความยืดหยุ่นในการทำงานได้ดีกว่า มีการพัฒนาระบบที่สนับสนุนให้ใช้งานได้ทั้งระบบเครือข่าย และแบบเดี่ยว
3. Linux ระบบนี้พัฒนาโดยอาศัยต้นแบบการใช้งานของระบบ Unix และใช้โค๊ดที่เขียนและเผยแพร่ในแบบ Open source ที่เปิดเผยโปรแกรมต้นฉบับให้ผู้ใช้สามารถพัฒนาและแก้ไขได้เอง มีทั้งแบบที่ใช้สำหรับงานควบคุมเครือข่าย และแบบที่ใช้สำหรับผู้ใช้คนเดียว
4. OS/2 Warp Server เป็นระบบปฏิบัติการที่เหมาะสำหรับเครือข่ายในองค์กร พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็ม แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม และเลิกพัฒนาไปแล้ว
5. Solaris
เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่อยู่ในตระกูลเดียวกับระบบปฏิบัติการ Unix พัฒนาโดยบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์
Stand-Alone OS
ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand-Alone OS) ได้แก่ ระบบปฏิบัติการต่อไปนี้
1. DOS (Disk Operating System)
1. DOS (Disk Operating System)
เป็นระบบปฏิบัติการซึ่งได้มีการพัฒนาขึ้นเมื่อประมาณปี 1980 เพื่อใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นหลัก ทำงานโดยใช้การป้อนชุดคำสั่งที่เรียกว่า command line ซึ่งต้องป้อนทีละบรรทัดเพื่อให้เครื่องปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ๆ ผลิตขึ้นครั้งแรกมีชื่อเรียกว่า PC-DOS เพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็ม ภายหลังเมื่อเครื่องได้รับความนิยมมากขึ้นจนเกิดเครื่องที่ผลิตขึ้นมาเลียนแบบอย่างมากมายคล้ายกับเครื่องของIBM บริษัทไมโครซอฟท์ซึ่งมีทีมงานที่เคยผลิต PC-DOS ให้กับ IBM มาก่อนจึงได้ทำระบบปฏิบัติการแบบใหม่ออกมาเป็นของตนเองและเรียกว่า MS-DOS
2. Windows
จากข้อจำกัดของ DOS ที่ต้องป้อนคำสั่งการทำงานทีละคำสั่งซึ่งทำให้ผู้ใช้ต้องจดจำยุ่งยาก บริษัทไมโครซอฟท์จึงได้นำแนวคิดระบบการใช้งานแบบ GUI (Graphical User Interface) มาผลิตระบบปฏิบัติการตัวใหม่ที่มีชื่อว่า Windows เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยระบบปฏิบัติการแบบ Windows เป็นการนำเอารูปสัญลักษณ์ที่เป็นภาพกราฟิกเข้ามาแทนการป้อนข้อมูลคำสั่งทีละบรรทัด โดยใช้หลักการแบ่งงานออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่าหน้าต่างงาน ซึ่งแสดงผลลัพธ์ของแต่ละโปรแกรม ปัจจุบันได้รับความนิยมในการใช้งานอย่างแพร่ลายและมีการผลิตและจำหน่ายออกมาหลายรุ่น ขณะนี้ Windows 7 เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด
3. Mac OS X
เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ขอบบริษัทแอปเปิ้ลเท่านั้น ซึ่งเน้นการใช้งานประเภทสิ่งพิมพ์ กราฟิก และศิลปะเป็นหลัก รูปแบบการทำงานต่าง ๆ ของ Mac OS X จะมีระบบสนับสนุนแบบ GUI เช่นเดียวกับระบบปฏิบัติการ Windows
ประเภทของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน ซึ่งนำไปใช้ได้กับคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิดตั้งเครื่องระดับใหญ่ จนถึงคอมพิวเตอร์แบบพกพา อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว ( Stand-alone OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว นิยมใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน ซึ่งถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้ไว้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์รายงาน ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
2. ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลาย ๆ คน (Multi-User) นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ มักพบได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้จะเรียกว่าเครื่อง Server ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้
3. ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (embeded OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอ หรือ Smart phone บางรุ่น สามารถช่วยในการทำงานของอุปกรณ์แบบไม่ประจำที่เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี เป็นระบบปฏิบัติการที่มีเกิดขึ้นหลังสุดพร้อมๆ กับที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาเหล่านี้ได้รับความนิยมมากขึ้น บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวด้วย เช่น รองรับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมต่อินเตอร์เน็ตได้
ที่มา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ วิโรจน์ ชัยมูล สุพรรษา ยวงทอง กรุงเทพฯ โปรวิชั่น 2552 หน้า 76-77
ช่วยหน่อย : อธิบายลักษณะสำคัญของระบบปฏิบัติการแต่ละประเภทพอสังเขป
1. ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว ( Stand-alone OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว นิยมใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน ซึ่งถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้ไว้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์รายงาน ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
2. ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลาย ๆ คน (Multi-User) นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ มักพบได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้จะเรียกว่าเครื่อง Server ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้
3. ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (embeded OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอ หรือ Smart phone บางรุ่น สามารถช่วยในการทำงานของอุปกรณ์แบบไม่ประจำที่เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี เป็นระบบปฏิบัติการที่มีเกิดขึ้นหลังสุดพร้อมๆ กับที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาเหล่านี้ได้รับความนิยมมากขึ้น บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวด้วย เช่น รองรับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมต่อินเตอร์เน็ตได้
ที่มา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ วิโรจน์ ชัยมูล สุพรรษา ยวงทอง กรุงเทพฯ โปรวิชั่น 2552 หน้า 76-77
ช่วยหน่อย : อธิบายลักษณะสำคัญของระบบปฏิบัติการแต่ละประเภทพอสังเขป
Operating System
ระบบปฏิบัติการ ( Operating System - OS ) เป็นซอฟแวร์ที่เอาไว้ใช้สำหรับควบคุม และประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ทุกเครื่องจำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการติดตั้งอยู่ เราจะพบเห็นระบบปฏิบัติการอยู่ในคอมพิวเตอร์ทุกประเภท ตั้งแต่ขนาดใหญ่อย่างเมนเฟรม จนถึงระบบเล็กสุดเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาประเภทพีดีเอ
คุณสมบัติการทำงานของ ระบบปฏิบัติการ
1. การทำงานแบบ Multi -Tasking
ในสมัยก่อนการทำงานของระบบปฏิบัติการจะอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า single-tasking คือการทำงานทีละโปรแกรม ไม่สามารถสลับการทำงานไปมาระหว่างโปรแกรมได้ แต่สำหรับในปัจจุบันจะพบการทำงานลักษณะ Multi-tasking คือ การทำงานที่สามารถทำงานหลาย ๆ งาน หรือ หลาย ๆ โปรแกรมในเวลาเดียวกัน เช่น พิมพ์รายงานควบคู่ไปกับการเล่นอินเตอร์เน็ต ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ Windows ซึ่งทำงานได้สะดวกและหลาย ๆ โปรแกรมควบคู่กันไป
2. การทำงานแบบ Multi-User
ระบบปฏิบัติการที่สามารถในการทำงานกับผู้ใช้หลาย ๆ คน ขณะที่มีารประมวลผลของการทำงานพร้อม ๆ กัน ทำให้การทำงานกระจายใช้ได้ทั่วถึงมากขึ้น โดยต้องเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกันแบบเครือข่าย และใช้ระบบปฏิบัติการที่มีคุณสมบัติที่เรียกว่า multi-user
...........................................................................................................................
ช่วยตอบหน่อย : บอกความแตกต่างระหว่างคุณสมบัติการทำงานของระบบปฏิบัติการระหว่าง การทำงานแบบ Multi -Tasking และ การทำงานแบบ Multi -User
คุณสมบัติการทำงานของ ระบบปฏิบัติการ
1. การทำงานแบบ Multi -Tasking
ในสมัยก่อนการทำงานของระบบปฏิบัติการจะอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า single-tasking คือการทำงานทีละโปรแกรม ไม่สามารถสลับการทำงานไปมาระหว่างโปรแกรมได้ แต่สำหรับในปัจจุบันจะพบการทำงานลักษณะ Multi-tasking คือ การทำงานที่สามารถทำงานหลาย ๆ งาน หรือ หลาย ๆ โปรแกรมในเวลาเดียวกัน เช่น พิมพ์รายงานควบคู่ไปกับการเล่นอินเตอร์เน็ต ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ Windows ซึ่งทำงานได้สะดวกและหลาย ๆ โปรแกรมควบคู่กันไป
2. การทำงานแบบ Multi-User
ระบบปฏิบัติการที่สามารถในการทำงานกับผู้ใช้หลาย ๆ คน ขณะที่มีารประมวลผลของการทำงานพร้อม ๆ กัน ทำให้การทำงานกระจายใช้ได้ทั่วถึงมากขึ้น โดยต้องเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกันแบบเครือข่าย และใช้ระบบปฏิบัติการที่มีคุณสมบัติที่เรียกว่า multi-user
...........................................................................................................................
ช่วยตอบหน่อย : บอกความแตกต่างระหว่างคุณสมบัติการทำงานของระบบปฏิบัติการระหว่าง การทำงานแบบ Multi -Tasking และ การทำงานแบบ Multi -User
8 ธ.ค. 2553
การจัดหาซอฟต์แวร์มาใช้งาน
โดยปกติเราสามารถหาซอฟต์แวร์มาใช้งานได้หลายๆวิธีอาจอยู่ในรูปแบบของการจัดซื้อโดย ตรงกับบริษัทผู้ผลิตหรือใช้ตัวอย่างทดลองจากการดาวน์โหลดบนอินเทอร์เน็ตก็ได้ พอสรุปวืธการเลือกของซอฟต์แวร์ได้ดังนี้
ก. แบบสำเร็จรูป(Package หรือ Ready -made Software)
แบบนี้ผู้ใช้สามารถหาซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ผลิตโดยตรง ซึ่งมักมีการเตรียมบรรจุภัณฑ์และเอกสารคู่มือการใช้งานไว้อยู่แล้ว และผู้ใช้นำไปติดตั้งเพื่อใช้งานได้ทันที โดยซื้อได้ทั้งจากตัวแทนบริษัทและเว็บไซต์ของบริษัทผู้ผลิต
ข.แบบว่าจ้างทำ(Customized หรือ Tailor-made Software)
ซอฟต์แวร์ประเภทนี้เหมาะสำหรับบริษัท หน่วยงาน ไม่สามารถนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้งานได้ ก็สามารถว่าจ้างบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ผลิตซอฟต์แวร์ที่ตรงกับความต้องการของหน่วยงานของตน ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างเขียนซอฟต์แวร์ที่แพงกว่าซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
ค. แบบทดลองใช้(Shareware)
บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ มักจะมีโปรแกรมเพื่อให้ลูกค้าทดลองใช้งานก่อนได้ แต่อาจมีกำหนดเวลาในการทดลองใช้ เช่น 30 วัน เพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้าทดลองใช้ก่อนตัดสินใจซื้อ
ง. แบบใช้งานฟรี(Freeware)
เป็นซอฟต์แวร์ที่แจกให้ใช้งานฟรี มักเป็นโปรแกรมขนาดเล็กมีให้ดาวน์โหลดบนอินเตอร์เน็ต แต่ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ ลิขสิทธิ์ยังคงเป็นเจ้าของหรือบริษัทผู้ผลิตอยู่ บุคคลทั่วไปไม่สามารถนำไปพัฒนาต่อได้
จ. แบบโอเพ่นซอร์ส(Public-Domain/-Open Sourse)
เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้ใช้งานฟรี และผู้ใช้สามารถนำไปพัฒนาโปรแกรมต่อให้มีความสามารถมากยิ่งขึ้นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ฉ. ระบบปฏิบัติการ(OS-Operating System)
เป้นซอฟต์แวร์ที่เอาไว้สำหรับควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ
ช่วยตอบหน่อย ... ถ้าคุณจะใช้โปรแกรมค้นหาคำศัพท์ (dictionary) คุณจะเลือกใช้โปรแกรมประเภทใด เพราะเหตุใด
ก. แบบสำเร็จรูป(Package หรือ Ready -made Software)
แบบนี้ผู้ใช้สามารถหาซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ผลิตโดยตรง ซึ่งมักมีการเตรียมบรรจุภัณฑ์และเอกสารคู่มือการใช้งานไว้อยู่แล้ว และผู้ใช้นำไปติดตั้งเพื่อใช้งานได้ทันที โดยซื้อได้ทั้งจากตัวแทนบริษัทและเว็บไซต์ของบริษัทผู้ผลิต
ข.แบบว่าจ้างทำ(Customized หรือ Tailor-made Software)
ซอฟต์แวร์ประเภทนี้เหมาะสำหรับบริษัท หน่วยงาน ไม่สามารถนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้งานได้ ก็สามารถว่าจ้างบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ผลิตซอฟต์แวร์ที่ตรงกับความต้องการของหน่วยงานของตน ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างเขียนซอฟต์แวร์ที่แพงกว่าซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
ค. แบบทดลองใช้(Shareware)
บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ มักจะมีโปรแกรมเพื่อให้ลูกค้าทดลองใช้งานก่อนได้ แต่อาจมีกำหนดเวลาในการทดลองใช้ เช่น 30 วัน เพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้าทดลองใช้ก่อนตัดสินใจซื้อ
ง. แบบใช้งานฟรี(Freeware)
เป็นซอฟต์แวร์ที่แจกให้ใช้งานฟรี มักเป็นโปรแกรมขนาดเล็กมีให้ดาวน์โหลดบนอินเตอร์เน็ต แต่ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ ลิขสิทธิ์ยังคงเป็นเจ้าของหรือบริษัทผู้ผลิตอยู่ บุคคลทั่วไปไม่สามารถนำไปพัฒนาต่อได้
จ. แบบโอเพ่นซอร์ส(Public-Domain/-Open Sourse)
เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้ใช้งานฟรี และผู้ใช้สามารถนำไปพัฒนาโปรแกรมต่อให้มีความสามารถมากยิ่งขึ้นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ฉ. ระบบปฏิบัติการ(OS-Operating System)
เป้นซอฟต์แวร์ที่เอาไว้สำหรับควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ
ช่วยตอบหน่อย ... ถ้าคุณจะใช้โปรแกรมค้นหาคำศัพท์ (dictionary) คุณจะเลือกใช้โปรแกรมประเภทใด เพราะเหตุใด
องค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ คือ กลุ่มของชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ ทำงานได้ตามที่ต้องการที่คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างอัตโนมัติ โดยที่มนุษย์ไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องในการประมวลผลนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการทำงานของซอฟต์แวร์นั่นเอง โดยปกติแล้วผู้ที่เขียนชุดคำสั่งนี้ขึ้นมาเรามักเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (program)
โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ(System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการทำงานที่ใกล้ชิดกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยจะทำหน้าที่ติดต่อ ควบคุม และสั่งการให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกันให้ได้มากที่สุด รวมถึงการบำรุงรักษาระบบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีการใช้งานได้ยาวนานขึ้นอีก ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกได้เป็น2ประเภทด้วยกันคือ
1.1 ระบบปฏิบัติการ (operating system)
1.2 โปรแกรมอรรถประโยชน์(utility programs)
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application Software)เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้านเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ แต่จะทำงานได้โดยเรียกใช้อุปกรณ์ต่างๆผ่านซอฟต์แวร์ระบบอีกทอดหนึ่ง ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะของเกณฑ์ที่ใช้แบ่ง พอจะสรุปได้ดังนี้
2.1 แบ่งตามลักษณะการผลิตได้ 2 ประเภทคือ
- ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ (Proprietary Software)
- ซอฟต์แวร์ที่จัดหาซื้อโดยทั่วไป(Off-the-Sofware หรือ Packaged Software)
2.2 แบ่งตามกลุ่มการใช้งานได้ 3 กลุ่มใหญ่คือ
- กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ (business)
- กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟฟิกและมัลติมิเดีย (graphic and multimededia)
- กลุ่มสำหรับการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร(web and communication)
ที่มา : http://learners.in.th/blog/wanput/259856
โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ(System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการทำงานที่ใกล้ชิดกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยจะทำหน้าที่ติดต่อ ควบคุม และสั่งการให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกันให้ได้มากที่สุด รวมถึงการบำรุงรักษาระบบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีการใช้งานได้ยาวนานขึ้นอีก ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกได้เป็น2ประเภทด้วยกันคือ
1.1 ระบบปฏิบัติการ (operating system)
1.2 โปรแกรมอรรถประโยชน์(utility programs)
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application Software)เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้านเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ แต่จะทำงานได้โดยเรียกใช้อุปกรณ์ต่างๆผ่านซอฟต์แวร์ระบบอีกทอดหนึ่ง ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะของเกณฑ์ที่ใช้แบ่ง พอจะสรุปได้ดังนี้
2.1 แบ่งตามลักษณะการผลิตได้ 2 ประเภทคือ
- ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ (Proprietary Software)
- ซอฟต์แวร์ที่จัดหาซื้อโดยทั่วไป(Off-the-Sofware หรือ Packaged Software)
2.2 แบ่งตามกลุ่มการใช้งานได้ 3 กลุ่มใหญ่คือ
- กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ (business)
- กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟฟิกและมัลติมิเดีย (graphic and multimededia)
- กลุ่มสำหรับการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร(web and communication)
ที่มา : http://learners.in.th/blog/wanput/259856
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)