23 ก.ค. 2564
11 ก.ย. 2562
การเก็บรวบรวมและสำรวจข้อมูล
แหล่งที่มาของข้อมูล (Source of Data) ข้อมูลสถิติอาจจำแนกตามแหล่งที่มาได้ 2
ทาง คือ
1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้หรือหน่วยงานที่ใช้เป็นผู้ทำการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง
ซึ่งวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีการสัมภาษณ์ การทดลอง หรือการสังเกตการณ์
ข้อมูลปฐมภูมิเป็นข้อมูลที่มีรายละเอียดตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ
แต่มักจะเสียเวลาในการจัดหาและมีค่าใช้จ่ายสูง
2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ได้เก็บรวบรวมเอง
แต่มีผู้อื่นหรือ หน่วยงานอื่นๆ ทำการเก็บรวบรวมไว้แล้ว เช่น จากรายงาน
ที่พิมพ์แล้ว หรือยังไม่ได้พิมพ์ของ หน่วยงานของรัฐบาล สมาคม บริษัท สำนักงานวิจัย
นักวิจัย วารสาร หนังสือพิมพ์ เป็นต้น
การนำเอาข้อมูลเหล่านี้มาใช้เป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
แต่ในบางครั้งข้อมูลอาจจะไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
หรือมีรายละเอียดไม่เพียงพอที่จะนำไปวิเคราะห์ นอกจากนี้ในบางครั้ง
ข้อมูลนั้นอาจมีความผิดพลาดและผู้ใช้มักจะไม่ทราบข้อผิดพลาดดังกล่าว
ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการสรุปผล ดังนั้น
ผู้ที่จะนำข้อมูลทุติยภูมิมาใช้ควรระมัดระวังและตรวจสอบคุณภาพข้อมูลก่อนที่จะนำไปวิเคราะห์
ความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล
การเลือกใช้แหล่งข้อมูลที่ไม่เหมาะสมหรือมีการบิดเบือน
อาจทํา ให้ข้อสรุปที่ได้ผิดพลาดหรือชี้นํา
ผิดทาง นอกจากนี้อาจทํา ให้เกิดอันตรายและสร้างความเสียหายในรูปแบบต่าง ๆ ได้
ผิดทาง นอกจากนี้อาจทํา ให้เกิดอันตรายและสร้างความเสียหายในรูปแบบต่าง ๆ ได้
ความทันสมัยของข้อมูล
(currency) ควรตรวจสอบว่าข้อมูลเผยแพร่เมื่อใด
สํารวจและปรับปรุงเมื่อใด นอกจากนี้ในปัญหาที่สนใจ
ควรตรวจสอบว่าสามารถใช้ข้อมูลที่เผยแพร่นานมาแล้วได้หรือไม่
ความสอดคล้องกับการใช้งาน
(relevance) ควรตรวจสอบว่าข้อมูลเกี่ยวข้องกับปัญหาที่ต้องการหรือไม่
ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล
(authority) พิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล
ผู้เผยแพร่มีความชํา
นาญพอที่จะให้ข้อมูลในเรื่องดังกล่าวหรือไม่สามารถติดต่อผู้เผยแพร่ได้หรือไม่
ความถูกต้องแม่นยํา
(accuracy) ตรวจสอบความถูกต้องพื้นฐานของข้อมูล
ตรวจสอบว่ามีการนํา ข้อมูลไปอ้างอิงที่อื่น หรือไม่
หรือมีการตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของข้อมูลหรือไม่
จุดมุ่งหมายของแหล่งข้อมูล
(purpose) ตรวจสอบว่าข้อมูลดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป้าหมายใด
เช่น เพื่อใช้ในการรณรงค์ เผยแพร่เพื่อการโฆษณา หรือเพื่อการศึกษาอื่น ๆ
การเตรียมข้อมูล เมื่อเลือกแหล่งข้อมูลและรวบรวมข้อมูลได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การเตรียมข้อมูล เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประมวลผล ซึ่งเราก็ทราบแล้วว่า ข้อมูลที่ต้องใช้ในการประมวลผลต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง สมบูรณ์ ถ้าข้อมูลมีความผิดพลาดไม่สมบูรณ์เราก็จะได้ผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ เช่นกัน ดังนั้น เราจึงต้องมีการเตรียมข้อมูล ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน
1. 1. ทำความสะอาดข้อมูล เป็นการตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูล เช่น มีค่าว่าง มีค่าที่อยู่นอกขอบเขตค่าที่เป็นไปได้ หน่วยนับไม่ตรงกัน ค่าผิดปกติ หรือมีรูปแบบไม่ตรงกัน เป็นต้น การแก้ไขข้อมูลเมื่อพบว่ามีข้อผิดพลาดหากสามารถแก้ไขได้ให้ดำเนินการแก้ไขให้ถุกต้อง หรือลบข้อมูลส่วนนั้นออกไปถ้าไม่ส่งผลกระทบต่อการประมวลผล
2. 2. แปลงข้อมูล การแปลงข้อมูล คือ การเตรียมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมสำหรับการประมวลผล โดยรูปแบบของข้อมูลที่พร้อมสำหรับการประมวลผล ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับว่าเราสนใจจะนำข้อมูลนั้นไปทำอะไร หรือไปหาคำตอบเรื่องใด เช่น
2.1 การลดจำนวนข้อมูล เป็นการเลือกเฉพาะข้อมูลที่สนใจ หรือตัดข้อมูลที่ไม่จำเป็นต้องใช้ออกไป
2.2 การเพิ่มจำนวนข้อมูล เป็นการเพิ่มข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการประมวลผลเข้าไป
2.3 การรวมข้อมูล เป็นการจัดกลุ่มข้อมูลที่มีความสอดคล้องกันเข้าด้วยกัน
3. 3. เชื่อมโยงข้อมูล เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลที่อยู่คนละรูปแบบ หรือ อยู่คนละแหล่งข้อมูลเข้าด้วยกัน
*** นักเรียนสามารถทำความเข้าใจเรื่อง การเตรียมข้อมูลได้ในวีดีโอด้านล่างนี้***
วีดีโอแสดงการเตรียมข้อมูล
การสำรวจข้อมูล
ในขั้นการสำรวจข้อมูลนั้น ขั้นตอนหลักคือ การทดลองวาดแผนภาพหรือกราฟของข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อพิจารณาภาพรวมของข้อมูล ซึ่งจะทำให้เราพบข้อผิดพลาดหรือปัญหาที่เกิดจากการตั้งคำถามหรือการรวบรวมข้อมูล ซึ่งต้องกลับไปแก้ไขให้ถูกต้อง เช่น อาจพบ ข้อมูลสูญหาย ข้อมูลไม่ครบ ข้อมูลที่ค่าผิดปกติไป เป็นต้น
4 ก.พ. 2562
วัสดุในชีวิตประจำวัน : โลหะ
วัสดุในชีวิตประจำวัน : โลหะ
1.โลหะ คือ ...?
2.โลหะแบ่งออกเป็น 2
ประเภท ได้แก่
3.โลหะกลุ่มเหล็ก แบ่งเป็น 2
ประเภท ได้แก่
4.โลหะนอกกลุ่มเหล็ก แบ่งเป็น 3
ประเภท ได้แก่
5.อะไรคือความแตกต่าง ระหว่างโลหะกลุ่มเหล็ก
และโลหะนอกกลุ่มเหล็ก (ตอบเป็นข้อ ๆ อย่างน้อย 3
ข้อ)
6.ข้อแตกต่าง ระหว่างคุณสมบัติของเหล็กกล้า และ
เหล็กหล่อ
7.ข้อที่เหมือนกัน ระหว่างคุณสมบัติของเหล็กกล้า
และ เหล็กหล่อ
8.กังหันชัยพัฒนา สร้างมาจากโลหะประเภทใด
เพราะเหตุใด
9.จงบอกคุณสมบัติของ อะลูมิเนียม
และประโยชน์การใช้งาน
10.จงบอกคุณสมบัติของ ทองแดง และประโยชน์การใช้งาน
11.จงบอกคุณสมบัติของ สังกะสี
และประโยชน์การใช้งาน
12.จงบอกคุณสมบัติของ ทองเหลือง
และประโยชน์การใช้งาน
13.ถ้าจะทำช้ันวางรองเท้าด้วย โลหะ
นักเรียนจะเลือกทำจากโลหะประเภทใดบ้าง เพราะเหตุผลใด
วัสดุในชีวิตประจำวัน : พลาสติก
วัสดุในชีวิตประจำวัน : พลาสติก
1.พลาสติก เป็นวัสดุสังเคราะห์ โดยส่วนใหญ่เป็นผลผลิตมาจาก
กระบวนการใด
2.พลาสติก แบ่งออกเป็น 2
ประเภท ได้แก่
3.อะไร คือ ความต่าง ระหว่าง เทอร์โมพลาสติก กับ
เทอร์โมเซตติ้ง พลาสติก (ตอบ 2 ข้อ)
4.อะไร คือ ความเหมือน ระหว่างเทอร์โมพลาสติก กับ
เทอร์โมเซตติ้ง พลาสติก (ตอบ 2 ข้อ)
5.โฟม ผลิดจากพลาสติกประเภทใด
6.ถ้าจะทำช้ันวางรองเท้าด้วย พลาสติก
นักเรียนจะเลือกทำจากพลาสติกประเภทใด เพราะเหตุผลใด *
วัสดุในชีวิตประจำวัน : ไม้
วัสดุในชีวิตประจำวัน : ไม้
1.ไม้แบ่งออกเป็น 2
ประเภท ได้แก่
2.ไม้ธรรมชาติหรือไม้จริง แบ่งเป็น 2
ประเภท ได้แก่
3.ไม้ประกอบ แบ่งเป็น 3
ประเภท ได้แก่
4.ไม้ประกอบ แบ่งเป็น 3
ประเภท ได้แก่
5.อธิบายเปรียบเทียบคุณสมบัติ ของ ไม้เนื้อแข็ง
และ ไม้เนื้ืออ่อน
6.อธิบายเปรียบเทียบคุณสมบัติ ของไม้ประกอบทั้ง 3
ชนิด
7.อธิบายเปรียบเทียบการนำไปใช้งาน ระหว่าง
ไม้ประกอบทั้ง 3 ชนิด
8.อธิบายเปรียบเทียบการนำไปใช้งาน ระหว่าง
ไม้เนื้อแข็ง และ ไม้เนื้ืออ่อน
9.ถ้าจะทำช้ันวางรองเท้าด้วย ไม้
นักเรียนจะเลือกทำจากไม้ประเภทใดบ้าง เพราะเหตุผลใด
วัสดุในชีวิตประจำวัน: ยาง
วัสดุในชีวิตประจำวัน:ยาง
1.ยาง แบ่งเป็น 2
ประเภท ได้แก่
2. น้ำยางดิบ ถูกแปรสภาพเป็น 2
ลักษณะ ได้แก่
3.การแปรสภาพน้ำยางดิบ เป็น น้ำยางข้น
เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตของใช้ต่าง ๆ อะไรบ้าง ยกตัวอย่าง 3
ตัวอย่าง
4. การแปรสภาพน้ำยางดิบ เป็น ยางแห้ง
หรือยางแผ่นรมควัน เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตของใช้ต่าง ๆ อะไรบ้าง ยกตัวอย่าง 3
ตัวอย่าง
5. ยางสังเคราะห์ คือ ?
6. ทำไม... ? ยางสังเคราะห์จึงได้รับความนิยมในการนำมาใช้งาน
7.บอกความเหมือน ของยางธรรมชาติ และ ยางสังเคราะห์
มา 2 ข้อ
8. บอกความต่าง ระหว่างยางธรรมชาติ และ
ยางสังเคราะห์ มา 2 ข้อ
9. ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากยางธรรมชาติมา 3
ชนิด
10. ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากยางสังเคราะห์มา 3
ชนิด
11. ถ้าจะทำช้ันวางรองเท้าด้วย ยาง ได้หรือ ไม่
ถ้าได้ นักเรียนจะเลือกทำจากยางประเภทใดบ้าง เพราะเหตุผลใด
13 ธ.ค. 2561
การเปลี่ยนแปลง และ ผลกระทบของเทคโนโลยี
มนุษย์มีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกหรือแก้ปัญหาการดำเนินชีวิตที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น อย่างไม่สิ้นสุด
ตัวอย่าง เปรียบเทียบสิ่งของเครื่องใช้ในอดีตกับปัจจุบัน
ผลจากการพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีทุกด้านทำให้เกิดผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน
ตัวอย่าง ประวัติการสื่อสารโทรคมนาคม ชุด "พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง"
ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยี
ผลจากการพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีทุกด้านทำให้เกิดผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้านแนวโน้มที่สำคัญ ประกอบด้วย
1) เทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
2) เทคโนโลยีแบบตอบสนองตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน เป็นการพัฒนาขึ้นมาใช้สำหรับบุคคลเทคโนโลยีสร้างอุปกรณ์ต่างๆเพื่อเน้นการตอบสนองตามความต้องการ โดยสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์รองรับทั้งด้านการเชื่อมโยงเครือข่ายทำให้กระบวนการที่ซับซ้อนสามารถเป็นไปได้ เทคโนโลยีพัฒนาก้าวหน้าเพื่อให้สามารถนำทุกการคิดค้นต่างๆขึ้นมาตอบสนองและลดปัญหาต่างๆของมนุษย์
3) เทคโนโลยีทำให้เกิดรูปแบบขององค์กรที่สามารถประกอบการหรือดำเนินกิจกรรมได้ทุกสถานที่ และทุกเวลาอาศัยการสื่อสารที่ก้าวหน้าและแพร่หลายขึ้นผ่านระบบเครือข่าย การประชุมทางวีดิทัศน์ ระบบประชุมบนเครือข่าย ระบบโทรศึกษา ระบบการค้าบนเครือข่าย ลักษณะของการดำเนินงานเหล่านี้ ทำให้ผู้ใช้ขยายขอบเขตการดำเนินกิจกรรมไปทุกหนทุกแห่งตลอด 24 ชั่วโมง กิจกรรมทางเศรษฐกิจจัดการได้สะดวกมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการวางระบบเอทีเอ็มที่ทำให้การเบิกจ่ายได้ตลอดเวลาและกระจายถึงตัวผู้รับบริการมากขึ้น
4) เทคโนโลยีทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบท้องถิ่นเชื่อมโยงสู่ระดับเศรษฐกิจโลกที่ไม่มีขีดจำกัดด้านสถานที่ การซื้อขายที่ผ่านระบบอินเตอร์เนททำให้เกิดรูปแบบการค้าที่ช่วยให้มีการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ระบบเศรษฐกิจในโลกสามารถเชื่อมโยงและเอื้อประโยชน์ในรูปแบบต่างๆมากขึ้น
5) เทคโนโลยีส่งผลให้องค์กรมีลักษณะแบบเครือข่ายมากขึ้น องค์กรมีการวางเป็นลำดับขั้นสายการบังคับบัญชาจากบนลงล่าง แต่เมื่อการสื่อสารแบบสองทางและการกระจายข่าวสารดีขึ้น มีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์กรผูกพันกันเป็นกลุ่มงานเพิ่มคุณค่าขององค์กรด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศองค์กรกลายเป็นการบริหารข่ายงานที่มีลักษณะการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น การออกแบบหน่วยธุรกิจขนาดเล็กลงและเน้นการทำงานเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่ายตามความเชี่ยวชาญและประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก โครงสร้างขององค์กรได้รับผลตามกระแสของเทคโนโลยีอย่างสมบูรณ์
6) เทคโนโลยีทำเกิดการวางแผนการดำเนินการบริหารที่สร้างความได้เปรียบเพื่อให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น ระบบการตัดสินใจวางแผนมีแบบแผนและมีประสิทธิภาพ แนวทฤษฎีทางความคิดการบริหารเปลี่ยนไปมีความยืดหยุ่นและมองหลายมิติมากขึ้น
7) เทคโนโลยีได้กลายเป็นตัวแปรที่สำคัญในทุกด้านมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม ศีลธรรม การศึกษา เศรษฐกิจและการเมืองได้อย่างมาก การเชื่อมโยงข่าวสารจากประเทศต่างๆ ได้ทั่วโลกสามารถรับรู้ข่าวสาร ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารระหว่างกันและติดต่อกับคนได้ทั่วโลก ผลกระทบที่ตามมาของ
การส่งผ่านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองจึงมีลักษณะเป็นสังคมโลกมากขึ้น
ศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติม เรื่องผลกระทบของเทคโนโลยี ที่นี่ |
ระบบทางเทคโนโลยี
เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างหรือพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจเป็นได้ทั้ง ชิ้นงาน และ วิธีการ
ระบบทางเทคโนโลยี ประกอบด้วย ตัวป้อน กระบวนการ และ ผลผลิต และในบางระบบอาจมีข้อมูลย้อนกลับ เพื่อช่วยปรับปรุง หรือแก้ไขการทำงานของระบบให้มีความสมบูรณ์ตามต้องการ
ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน หมายถึง ระบบเทคโนโลยีที่ประกอบด้วยเทคโนโลยี ตั้งแต่ 2 ระบบย่อย (subsystems) ขึ้นไป โดยหากระบบย่อยใดทำงานผิดพลาด จะส่งผลต่อการทำงานของระบบใหญ่ ทำให้เทคโนโลยีทำงานได้ไม่สมบูรณ์ หรือทำงานผิดพลาด
ตัวป้อน หมายถึง ข้อมูล หรือสิ่งที่ป้อนเข้าสู่ระบบ เพื่อให้ได้ผลผลิตออกมา สิ่งที่ป้อนเข้าสู่ระบบอาจมีมากกว่า 1 อย่าง
กระบวนการ หมายถึง ขั้นตอน หรือ วิธีการดำเนินการในระบบเพื่อให้ได้ผลผลิตตามวัตถุประสงค์
ผลผลิต หมายถึง ผลผลิตจากกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในระบบ ซึ่งอาจได้มาซึ่ง ผลิตภัณฑ์ หรือวิธีการทำงานใหม่ ๆ ที่ตอบสนองตามวัตถุประสงค์
ข้อมูลย้อนกลับ หมายถึง ข้อมูลที่ใช้ป้อนกลับเข้าไปในระบบ เพื่อปรับปรุงการทำงานของระบบให้ได้ตามวัตถุประสงค์ได้ดียิ่งขึ้น โดยแต่ระบบอาจมีหรือไม่มีก็ได้
ตัวอย่าง ระบบทางเทคโนโลยี
2) น้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์ร้อนโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยระบายความร้อน ทำให้น้ำยาจะที่ออกจากคอยล์ร้อนมีอุณหภูมิลดลง (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งต่อให้อุปกรณ์ลดความดัน
3) น้ำยาที่ไหลผ่านอุปกรณ์ลดความดันจะมีความดันและอุณหภูมิที่ต่ำมาก แล้วไหลเข้าสู่คอยล์เย็น (หรือที่นิยมเรียกกันว่า การฉีดน้ำยา)
4) จากนั้นน้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์เย็นโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยดูดซับความร้อนจากภายในห้อง เพื่อทำให้อุณหภูมิห้อง ลดลง ซึ่งทำให้น้ำยาที่ออกจากคอยล์เย็นมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งกลับเข้าคอมเพรสเซอร์เพื่อทำการหมุนเวียนน้ำยาต่อไป
หลังจากที่เรารู้การทำงานของวัฏจักรการทำความเย็นแล้วก็พอจะสรุปง่ายๆได้ดังนี้
1) สารทำความเย็นหรือน้ำยา ทำหน้าที่เป็นตัวกลางดูดเอาความร้อนภายในห้อง (Indoor) ออกมานอกห้อง (Outdoor) จากนั้น น้ำยาจะถูกทำให้เย็นอีกครั้งแล้วส่งกลับเข้าห้องเพื่อดูดซับความร้อนอีก โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดการ ทำงานของคอมเพรสเซอร์
2) คอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวในระบบที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนน้ำยาผ่านส่วนประกอบหลัก คือคอยล์ร้อน อุปกรณ์ ลดความดัน และคอยล์เย็น โดยจะเริ่มทำงานเมื่ออุณหภูมิภายในห้องสูงเกินอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ และจะหยุดทำงาน เมื่ออุณหภูมิ ภายในห้องต่ำกว่าอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ ดังนั้นคอมเพรสเซอร์จะเริ่ม และหยุดทำงานอยู่ตลอดเวลาเป็นระยะๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิ ห้องให้สม่ำเสมอตามที่เราต้องการ
ระบบ Inverter คืออะไร
ระบบอินเวอร์เตอร์ คือระบบควบคุมการทำงานของคอมเพรสเซอร์ที่จะแปลงไฟกระแสสลับ (AC) จากแหล่งจ่ายไฟทั่วไปที่มีแรงดัน และความถึ่คงที่ ให้เป็นไฟกระแสตรง (DC) โดยวงจรคอนเวอร์เตอร์ (Converter Circuit) จากนั้นไฟกระแสตรงจะถูกแปลงเป็นไฟกระแสสลับ ที่สามารถปรับขนาดแรงดันและความถึ่ได้โดยวงจรอินเวอร์เตอร์ (Inverter Circuit)
การทำงานของเครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์จะแตกต่างจากเครื่องปรับอากาศทั่วไป ตรงที่อินเวอร์เตอร์เมื่อเริ่มเปิดเครื่อง อุณหภูมิจะค่อยๆ ลดลงถึงระดับที่ตั้งไว้ หลังจากนั้น คอมเพรสเซอร์จะปรับรอบการทำงานลงเพื่อคงอุณหภูมิภายในห้องให้คงที่ ตลอดเวลา ในขณะที่เครื่องปรับอากาศที่ไม่ใช่อินเวอร์เตอร์ เมื่อเริ่มเปิดเครื่อง อุณหภูมิจะค่อยๆ ลดลงต่ำกว่าระดับที่ตั้งไว้ ประมาณ 1-2 องศา หลังจากนั้น คอมเพรสเซอร์จะตัดการทำงาน จากนั้นอุณหภูมิจะค่อยๆ สูงขึ้น เกินระดับที่ตั้งไว้ 1-2 องศา คอมเพสเซอร์ก็จะเริ่มทำงานอึกครั้ง ทำให้อุณหภูมิภายในห้องจะเย็นเกินไป สลับกับร้อนเกินไปอยู่ตลอดเวลา ยิ่งเวลานอนหลับ จะทำให้รู้สึกไม่สบายตัว หลับๆ ตื่นๆได้
ระบบทางเทคโนโลยี ประกอบด้วย ตัวป้อน กระบวนการ และ ผลผลิต และในบางระบบอาจมีข้อมูลย้อนกลับ เพื่อช่วยปรับปรุง หรือแก้ไขการทำงานของระบบให้มีความสมบูรณ์ตามต้องการ
ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน หมายถึง ระบบเทคโนโลยีที่ประกอบด้วยเทคโนโลยี ตั้งแต่ 2 ระบบย่อย (subsystems) ขึ้นไป โดยหากระบบย่อยใดทำงานผิดพลาด จะส่งผลต่อการทำงานของระบบใหญ่ ทำให้เทคโนโลยีทำงานได้ไม่สมบูรณ์ หรือทำงานผิดพลาด
ตัวป้อน หมายถึง ข้อมูล หรือสิ่งที่ป้อนเข้าสู่ระบบ เพื่อให้ได้ผลผลิตออกมา สิ่งที่ป้อนเข้าสู่ระบบอาจมีมากกว่า 1 อย่าง
กระบวนการ หมายถึง ขั้นตอน หรือ วิธีการดำเนินการในระบบเพื่อให้ได้ผลผลิตตามวัตถุประสงค์
ผลผลิต หมายถึง ผลผลิตจากกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในระบบ ซึ่งอาจได้มาซึ่ง ผลิตภัณฑ์ หรือวิธีการทำงานใหม่ ๆ ที่ตอบสนองตามวัตถุประสงค์
ข้อมูลย้อนกลับ หมายถึง ข้อมูลที่ใช้ป้อนกลับเข้าไปในระบบ เพื่อปรับปรุงการทำงานของระบบให้ได้ตามวัตถุประสงค์ได้ดียิ่งขึ้น โดยแต่ระบบอาจมีหรือไม่มีก็ได้
ตัวอย่าง ระบบทางเทคโนโลยี
ตัวอย่างระบบเทคโนโลยี ของเครื่องปรับอากาศ จาก : https://sites.google.com/a/pibul.ac.th/techno/home/-rabb-thang-thekhnoloyi-thi-sab-sxn
หลักการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
1) ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบการทำการความเย็น (Refrigeration Cycle) มี
1. คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ของแอร์ แอร์บ้าน ทำหน้าที่ขับเคลื่อนสารทำ ความเย็นหรือน้ำยา (Refrigerant) ในระบบ โดยทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิ และความดันสูงขึ้น
2. คอยล์ร้อน (Condenser) ทำหน้าที่ระบายความร้อนของสารทำความเย็น
3. คอยล์เย็น (Evaporator) ทำหน้าที่ดูดซับความร้อนภายในห้องมาสู่สารทำความเย็น
4. อุปกรณ์ลดความดัน (Throttling Device) ทำหน้าที่ลดความดันและอุณหภูมิของสาร ทำความเย็น โดยทั่วไปจะใช้เป็น แค็ปพิลลารี่ทิ้วบ์ (Capillary tube) หรือ เอ็กสแปนชั่นวาล์ว (Expansion Valve)
ระบบการทำความเย็นที่เรากำลังกล่าวถึงคือระบบอัดไอ (Vapor-Compression Cycle) ซึ่งมีหลักการทำงานง่ายๆคือ การทำให้สารทำความเย็น (น้ำยา) ไหลวนไปตามระบบ โดยผ่านส่วนประกอบหลักทั้ง 4 อย่างต่อเนื่องเป็น วัฏจักรการทำความเย็น (Refrigeration Cycle) โดยมีกระบวนการดังนี้
1) เริ่มต้นโดยคอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็นเพื่อเพิ่มความดันและอุณหภูมิของน้ำยา แล้วส่งต่อเข้าคอยล์ร้อน2. คอยล์ร้อน (Condenser) ทำหน้าที่ระบายความร้อนของสารทำความเย็น
3. คอยล์เย็น (Evaporator) ทำหน้าที่ดูดซับความร้อนภายในห้องมาสู่สารทำความเย็น
4. อุปกรณ์ลดความดัน (Throttling Device) ทำหน้าที่ลดความดันและอุณหภูมิของสาร ทำความเย็น โดยทั่วไปจะใช้เป็น แค็ปพิลลารี่ทิ้วบ์ (Capillary tube) หรือ เอ็กสแปนชั่นวาล์ว (Expansion Valve)
ระบบการทำความเย็นที่เรากำลังกล่าวถึงคือระบบอัดไอ (Vapor-Compression Cycle) ซึ่งมีหลักการทำงานง่ายๆคือ การทำให้สารทำความเย็น (น้ำยา) ไหลวนไปตามระบบ โดยผ่านส่วนประกอบหลักทั้ง 4 อย่างต่อเนื่องเป็น วัฏจักรการทำความเย็น (Refrigeration Cycle) โดยมีกระบวนการดังนี้
2) น้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์ร้อนโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยระบายความร้อน ทำให้น้ำยาจะที่ออกจากคอยล์ร้อนมีอุณหภูมิลดลง (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งต่อให้อุปกรณ์ลดความดัน
3) น้ำยาที่ไหลผ่านอุปกรณ์ลดความดันจะมีความดันและอุณหภูมิที่ต่ำมาก แล้วไหลเข้าสู่คอยล์เย็น (หรือที่นิยมเรียกกันว่า การฉีดน้ำยา)
4) จากนั้นน้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์เย็นโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยดูดซับความร้อนจากภายในห้อง เพื่อทำให้อุณหภูมิห้อง ลดลง ซึ่งทำให้น้ำยาที่ออกจากคอยล์เย็นมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งกลับเข้าคอมเพรสเซอร์เพื่อทำการหมุนเวียนน้ำยาต่อไป
หลังจากที่เรารู้การทำงานของวัฏจักรการทำความเย็นแล้วก็พอจะสรุปง่ายๆได้ดังนี้
1) สารทำความเย็นหรือน้ำยา ทำหน้าที่เป็นตัวกลางดูดเอาความร้อนภายในห้อง (Indoor) ออกมานอกห้อง (Outdoor) จากนั้น น้ำยาจะถูกทำให้เย็นอีกครั้งแล้วส่งกลับเข้าห้องเพื่อดูดซับความร้อนอีก โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดการ ทำงานของคอมเพรสเซอร์
2) คอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวในระบบที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนน้ำยาผ่านส่วนประกอบหลัก คือคอยล์ร้อน อุปกรณ์ ลดความดัน และคอยล์เย็น โดยจะเริ่มทำงานเมื่ออุณหภูมิภายในห้องสูงเกินอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ และจะหยุดทำงาน เมื่ออุณหภูมิ ภายในห้องต่ำกว่าอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ ดังนั้นคอมเพรสเซอร์จะเริ่ม และหยุดทำงานอยู่ตลอดเวลาเป็นระยะๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิ ห้องให้สม่ำเสมอตามที่เราต้องการ
ระบบ Inverter คืออะไร
ระบบอินเวอร์เตอร์ คือระบบควบคุมการทำงานของคอมเพรสเซอร์ที่จะแปลงไฟกระแสสลับ (AC) จากแหล่งจ่ายไฟทั่วไปที่มีแรงดัน และความถึ่คงที่ ให้เป็นไฟกระแสตรง (DC) โดยวงจรคอนเวอร์เตอร์ (Converter Circuit) จากนั้นไฟกระแสตรงจะถูกแปลงเป็นไฟกระแสสลับ ที่สามารถปรับขนาดแรงดันและความถึ่ได้โดยวงจรอินเวอร์เตอร์ (Inverter Circuit)
การทำงานของเครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์จะแตกต่างจากเครื่องปรับอากาศทั่วไป ตรงที่อินเวอร์เตอร์เมื่อเริ่มเปิดเครื่อง อุณหภูมิจะค่อยๆ ลดลงถึงระดับที่ตั้งไว้ หลังจากนั้น คอมเพรสเซอร์จะปรับรอบการทำงานลงเพื่อคงอุณหภูมิภายในห้องให้คงที่ ตลอดเวลา ในขณะที่เครื่องปรับอากาศที่ไม่ใช่อินเวอร์เตอร์ เมื่อเริ่มเปิดเครื่อง อุณหภูมิจะค่อยๆ ลดลงต่ำกว่าระดับที่ตั้งไว้ ประมาณ 1-2 องศา หลังจากนั้น คอมเพรสเซอร์จะตัดการทำงาน จากนั้นอุณหภูมิจะค่อยๆ สูงขึ้น เกินระดับที่ตั้งไว้ 1-2 องศา คอมเพสเซอร์ก็จะเริ่มทำงานอึกครั้ง ทำให้อุณหภูมิภายในห้องจะเย็นเกินไป สลับกับร้อนเกินไปอยู่ตลอดเวลา ยิ่งเวลานอนหลับ จะทำให้รู้สึกไม่สบายตัว หลับๆ ตื่นๆได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)