13 ธ.ค. 2561

การเปลี่ยนแปลง และ ผลกระทบของเทคโนโลยี


           มนุษย์มีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกหรือแก้ปัญหาการดำเนินชีวิตที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น อย่างไม่สิ้นสุด

ตัวอย่าง    เปรียบเทียบสิ่งของเครื่องใช้ในอดีตกับปัจจุบัน 



         ผลจากการพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีทุกด้านทำให้เกิดผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน

ตัวอย่าง    ประวัติการสื่อสารโทรคมนาคม ชุด "พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง"




ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยี                                                         

  ผลจากการพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีทุกด้านทำให้เกิดผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้านแนวโน้มที่สำคัญ ประกอบด้วย
        1) เทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
        2) เทคโนโลยีแบบตอบสนองตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน เป็นการพัฒนาขึ้นมาใช้สำหรับบุคคลเทคโนโลยีสร้างอุปกรณ์ต่างๆเพื่อเน้นการตอบสนองตามความต้องการ โดยสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์รองรับทั้งด้านการเชื่อมโยงเครือข่ายทำให้กระบวนการที่ซับซ้อนสามารถเป็นไปได้ เทคโนโลยีพัฒนาก้าวหน้าเพื่อให้สามารถนำทุกการคิดค้นต่างๆขึ้นมาตอบสนองและลดปัญหาต่างๆของมนุษย์
        3) เทคโนโลยีทำให้เกิดรูปแบบขององค์กรที่สามารถประกอบการหรือดำเนินกิจกรรมได้ทุกสถานที่ และทุกเวลาอาศัยการสื่อสารที่ก้าวหน้าและแพร่หลายขึ้นผ่านระบบเครือข่าย การประชุมทางวีดิทัศน์ ระบบประชุมบนเครือข่าย ระบบโทรศึกษา ระบบการค้าบนเครือข่าย ลักษณะของการดำเนินงานเหล่านี้ ทำให้ผู้ใช้ขยายขอบเขตการดำเนินกิจกรรมไปทุกหนทุกแห่งตลอด 24 ชั่วโมง กิจกรรมทางเศรษฐกิจจัดการได้สะดวกมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการวางระบบเอทีเอ็มที่ทำให้การเบิกจ่ายได้ตลอดเวลาและกระจายถึงตัวผู้รับบริการมากขึ้น
        4) เทคโนโลยีทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบท้องถิ่นเชื่อมโยงสู่ระดับเศรษฐกิจโลกที่ไม่มีขีดจำกัดด้านสถานที่ การซื้อขายที่ผ่านระบบอินเตอร์เนททำให้เกิดรูปแบบการค้าที่ช่วยให้มีการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ระบบเศรษฐกิจในโลกสามารถเชื่อมโยงและเอื้อประโยชน์ในรูปแบบต่างๆมากขึ้น
        5) เทคโนโลยีส่งผลให้องค์กรมีลักษณะแบบเครือข่ายมากขึ้น องค์กรมีการวางเป็นลำดับขั้นสายการบังคับบัญชาจากบนลงล่าง แต่เมื่อการสื่อสารแบบสองทางและการกระจายข่าวสารดีขึ้น มีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์กรผูกพันกันเป็นกลุ่มงานเพิ่มคุณค่าขององค์กรด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศองค์กรกลายเป็นการบริหารข่ายงานที่มีลักษณะการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น การออกแบบหน่วยธุรกิจขนาดเล็กลงและเน้นการทำงานเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่ายตามความเชี่ยวชาญและประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก โครงสร้างขององค์กรได้รับผลตามกระแสของเทคโนโลยีอย่างสมบูรณ์
        6) เทคโนโลยีทำเกิดการวางแผนการดำเนินการบริหารที่สร้างความได้เปรียบเพื่อให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น ระบบการตัดสินใจวางแผนมีแบบแผนและมีประสิทธิภาพ แนวทฤษฎีทางความคิดการบริหารเปลี่ยนไปมีความยืดหยุ่นและมองหลายมิติมากขึ้น
        7) เทคโนโลยีได้กลายเป็นตัวแปรที่สำคัญในทุกด้านมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม ศีลธรรม การศึกษา เศรษฐกิจและการเมืองได้อย่างมาก การเชื่อมโยงข่าวสารจากประเทศต่างๆ ได้ทั่วโลกสามารถรับรู้ข่าวสาร ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารระหว่างกันและติดต่อกับคนได้ทั่วโลก ผลกระทบที่ตามมาของ
การส่งผ่านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองจึงมีลักษณะเป็นสังคมโลกมากขึ้น
             

ครูไอที
ศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติม  เรื่องผลกระทบของเทคโนโลยี ที่นี่ 

             
            

ระบบทางเทคโนโลยี

เทคโนโลยี  หมายถึง  สิ่งที่มนุษย์สร้างหรือพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจเป็นได้ทั้ง ชิ้นงาน และ วิธีการ

ระบบทางเทคโนโลยี    ประกอบด้วย ตัวป้อน   กระบวนการ และ ผลผลิต และในบางระบบอาจมีข้อมูลย้อนกลับ เพื่อช่วยปรับปรุง หรือแก้ไขการทำงานของระบบให้มีความสมบูรณ์ตามต้องการ

ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน  หมายถึง  ระบบเทคโนโลยีที่ประกอบด้วยเทคโนโลยี ตั้งแต่ 2 ระบบย่อย (subsystems) ขึ้นไป โดยหากระบบย่อยใดทำงานผิดพลาด จะส่งผลต่อการทำงานของระบบใหญ่ ทำให้เทคโนโลยีทำงานได้ไม่สมบูรณ์ หรือทำงานผิดพลาด






ตัวป้อน    หมายถึง  ข้อมูล หรือสิ่งที่ป้อนเข้าสู่ระบบ เพื่อให้ได้ผลผลิตออกมา สิ่งที่ป้อนเข้าสู่ระบบอาจมีมากกว่า 1 อย่าง
กระบวนการ   หมายถึง  ขั้นตอน หรือ วิธีการดำเนินการในระบบเพื่อให้ได้ผลผลิตตามวัตถุประสงค์
ผลผลิต   หมายถึง  ผลผลิตจากกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในระบบ ซึ่งอาจได้มาซึ่ง ผลิตภัณฑ์ หรือวิธีการทำงานใหม่ ๆ ที่ตอบสนองตามวัตถุประสงค์

ข้อมูลย้อนกลับ   หมายถึง  ข้อมูลที่ใช้ป้อนกลับเข้าไปในระบบ เพื่อปรับปรุงการทำงานของระบบให้ได้ตามวัตถุประสงค์ได้ดียิ่งขึ้น โดยแต่ระบบอาจมีหรือไม่มีก็ได้


ตัวอย่าง ระบบทางเทคโนโลยี                                                                                                               








                                      ตัวอย่างระบบเทคโนโลยี ของเครื่องปรับอากาศ                                           จาก : https://sites.google.com/a/pibul.ac.th/techno/home/-rabb-thang-thekhnoloyi-thi-sab-sxn

หลักการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
 1)  ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบการทำการความเย็น (Refrigeration Cycle) มี
          1. คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ของแอร์ แอร์บ้าน ทำหน้าที่ขับเคลื่อนสารทำ ความเย็นหรือน้ำยา (Refrigerant) ในระบบ โดยทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิ และความดันสูงขึ้น

          2. คอยล์ร้อน (Condenser) ทำหน้าที่ระบายความร้อนของสารทำความเย็น

          3. คอยล์เย็น (Evaporator) ทำหน้าที่ดูดซับความร้อนภายในห้องมาสู่สารทำความเย็น

          4. อุปกรณ์ลดความดัน (Throttling Device) ทำหน้าที่ลดความดันและอุณหภูมิของสาร ทำความเย็น โดยทั่วไปจะใช้เป็น แค็ปพิลลารี่ทิ้วบ์ (Capillary tube) หรือ เอ็กสแปนชั่นวาล์ว (Expansion Valve)

ระบบการทำความเย็นที่เรากำลังกล่าวถึงคือระบบอัดไอ (Vapor-Compression Cycle) ซึ่งมีหลักการทำงานง่ายๆคือ การทำให้สารทำความเย็น (น้ำยา) ไหลวนไปตามระบบ โดยผ่านส่วนประกอบหลักทั้ง 4 อย่างต่อเนื่องเป็น วัฏจักรการทำความเย็น (Refrigeration Cycle) โดยมีกระบวนการดังนี้
          1) เริ่มต้นโดยคอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็นเพื่อเพิ่มความดันและอุณหภูมิของน้ำยา แล้วส่งต่อเข้าคอยล์ร้อน

          2) น้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์ร้อนโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยระบายความร้อน ทำให้น้ำยาจะที่ออกจากคอยล์ร้อนมีอุณหภูมิลดลง (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งต่อให้อุปกรณ์ลดความดัน

          3) น้ำยาที่ไหลผ่านอุปกรณ์ลดความดันจะมีความดันและอุณหภูมิที่ต่ำมาก แล้วไหลเข้าสู่คอยล์เย็น (หรือที่นิยมเรียกกันว่า การฉีดน้ำยา)

          4) จากนั้นน้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์เย็นโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยดูดซับความร้อนจากภายในห้อง เพื่อทำให้อุณหภูมิห้อง ลดลง ซึ่งทำให้น้ำยาที่ออกจากคอยล์เย็นมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งกลับเข้าคอมเพรสเซอร์เพื่อทำการหมุนเวียนน้ำยาต่อไป

หลังจากที่เรารู้การทำงานของวัฏจักรการทำความเย็นแล้วก็พอจะสรุปง่ายๆได้ดังนี้

          1) สารทำความเย็นหรือน้ำยา ทำหน้าที่เป็นตัวกลางดูดเอาความร้อนภายในห้อง (Indoor) ออกมานอกห้อง (Outdoor) จากนั้น น้ำยาจะถูกทำให้เย็นอีกครั้งแล้วส่งกลับเข้าห้องเพื่อดูดซับความร้อนอีก โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดการ ทำงานของคอมเพรสเซอร์

          2) คอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวในระบบที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนน้ำยาผ่านส่วนประกอบหลัก คือคอยล์ร้อน อุปกรณ์ ลดความดัน และคอยล์เย็น โดยจะเริ่มทำงานเมื่ออุณหภูมิภายในห้องสูงเกินอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ และจะหยุดทำงาน เมื่ออุณหภูมิ ภายในห้องต่ำกว่าอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ ดังนั้นคอมเพรสเซอร์จะเริ่ม และหยุดทำงานอยู่ตลอดเวลาเป็นระยะๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิ ห้องให้สม่ำเสมอตามที่เราต้องการ

ระบบ Inverter คืออะไร
ระบบอินเวอร์เตอร์ คือระบบควบคุมการทำงานของคอมเพรสเซอร์ที่จะแปลงไฟกระแสสลับ (AC) จากแหล่งจ่ายไฟทั่วไปที่มีแรงดัน และความถึ่คงที่ ให้เป็นไฟกระแสตรง (DC) โดยวงจรคอนเวอร์เตอร์ (Converter Circuit) จากนั้นไฟกระแสตรงจะถูกแปลงเป็นไฟกระแสสลับ ที่สามารถปรับขนาดแรงดันและความถึ่ได้โดยวงจรอินเวอร์เตอร์ (Inverter Circuit)
การทำงานของเครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์จะแตกต่างจากเครื่องปรับอากาศทั่วไป ตรงที่อินเวอร์เตอร์เมื่อเริ่มเปิดเครื่อง อุณหภูมิจะค่อยๆ ลดลงถึงระดับที่ตั้งไว้ หลังจากนั้น คอมเพรสเซอร์จะปรับรอบการทำงานลงเพื่อคงอุณหภูมิภายในห้องให้คงที่ ตลอดเวลา ในขณะที่เครื่องปรับอากาศที่ไม่ใช่อินเวอร์เตอร์ เมื่อเริ่มเปิดเครื่อง อุณหภูมิจะค่อยๆ ลดลงต่ำกว่าระดับที่ตั้งไว้ ประมาณ 1-2 องศา หลังจากนั้น คอมเพรสเซอร์จะตัดการทำงาน จากนั้นอุณหภูมิจะค่อยๆ สูงขึ้น เกินระดับที่ตั้งไว้ 1-2 องศา คอมเพสเซอร์ก็จะเริ่มทำงานอึกครั้ง ทำให้อุณหภูมิภายในห้องจะเย็นเกินไป สลับกับร้อนเกินไปอยู่ตลอดเวลา ยิ่งเวลานอนหลับ จะทำให้รู้สึกไม่สบายตัว หลับๆ ตื่นๆได้


21 พ.ย. 2561

ไฟเขียวปรับมาตรฐานวิชาชีพความรู้ฯ ในมาตรฐานวิชาชีพครู เหลือ 4 ด้าน

บอร์ดคุรุสภา ไฟเขียวปรับมาตรฐานวิชาชีพความรู้ฯ ในมาตรฐานวิชาชีพครู เหลือ 4 ด้าน เน้นสมรรถนะความรู้ของผู้เรียน ชี้ ให้สถาบันจัดการศึกษานำไปใช้ปรับปรุงการสอนให้สอดคล้อง
วันนี้ (19 พ.ย.) นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ว่า ที่ประชุมคุรุสภามีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพครู (กมว.) เสนอปรับปรุงมาตรฐานวิชาชีพครู โดยเป็นการปรับปรุงองค์ประกอบในด้านมาตรฐานความรู้และวิชาประสบการณ์วิชาชีพ จาก 11 ด้าน ลดเหลือ 4 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านค่านิยมและลักษณะความเป็นครู เช่น ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีมรคุณธรรมและจริยธรรม, ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู ฯลฯ 2. ด้านความรู้และศาสตร์การสอน เช่น ติดตามการเปลี่ยนแปลงบริบทของโลกและรู้เท่าทันสังคม บูรณาการความรู้ เนื้อหาวิชา หลักสุูตร ศาสตร์การสอนและเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ ฯลฯ 
3. การปฏิบัติงานในหน้าที่ครู เช่น พัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ สื่อ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ วางแผนและจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาผู้เรียนให้มีปัญญารู้คิด และมีความเป็นนวัตกร ฯลฯ และ 4. ความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน เช่น ร่วมมือกับผู้ปกครองในการพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สร้างเครือข่ายความร่วมมือผู้ปกครองและชุมชน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จากนี้คุรุสภาจะต้องไปดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2 ฉบับ คือ ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 และประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2557 
“คุรุสภาไม่ได้ประกาศมาตรฐานวิชาชีพครูใหม่ เนื่องจากในมาตรา 49 ของ พ.ร.บ. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ประกอบด้วย 3 มาตรฐานหลัก ได้แก่ มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการปฏิบัติตน เพราะฉะนั้น ครั้งนี้เป็นแค่แก้ไขเล็กน้อยในมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ จาก 11 ด้าน เหลือ 4 ด้าน ซึ่งแทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง โดยหลักเน้นเรื่องของสมรรถนะความรู้ให้ชัดเจนขึ้น เพราะจะมีผลต่อการนำไปใช้จัดการเรียนการสอน ซึ่งเมื่อเป้าหมายกำหนดว่าสอนเน้นสมรรถะการจัดการสอนต้องเน้นเรื่องเดียวกัน” นพ.ธีระเกียรติ กล่าว
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นจัดการสอนครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ว่า จะใช้หลักสูตร 4 ปีหรือ 5 ปีนั้น เป็นเรื่องของสถาบันการศึกษา ไม่เกี่ยวกับคุรุสภาหรือตนจะไปบอกว่าจัดกี่ปี อีกทั้งกฎหมายกำหนดชัดเจนว่า ผู้มาขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูต้องเป็นจบปริญญาตรี เพียงแต่ว่าสถาบันการศึกษาต้องจัดสอนให้ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพที่คุรุสภากำหนด และเท่าที่ติดตามข่าวทราบว่าสถาบันการศึกษาจะจัดหลักสูตร 4 ปี แต่ไม่ว่าจะจัดหลักสูตร 4 ปีหรือ 5 ปีก็ต้องจัดสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพครู
ทั้งนี้ สำหรับการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ขณะนี้ทางคุรุสภาได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาศึกษาเรื่องดังกล่าว ส่วนจะต้องมีผลย้อนหลังไปถึงผู้ที่เข้าเรียนปีการศึกษา 2557-2558 หรือไม่นั้นตรงนี้ยังไม่มีข้อยุติ ขอให้ใจเย็นๆให้ผู้เกี่ยวข้องได้ไปดูรายละเอียดก่อน



ที่มา   : https://mgronline.com/qol/detail/9610000115235