24 ส.ค. 2555

อินเตอร์เน็ต


1.     จงอธิบายความหมายของอินเตอร์ พอเข้าใจ
         การเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากทั่วโลกเข้าด้วยกัน
     2.        อินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศใด และ ใช้ในด้านใด
           สหรัฐอเมริกา    ในด้านการทหาร
3.       ประเทศไทยเริ่มใช้อินเตอร์เน็ตเมื่อ พ.ศ. เท่าไร และใช้ในด้านไหน
            พ.ศ.  2534   ด้านการศึกษา
4.       ทำไมถึงกล่าวได้ว่า อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
            เพราะเป็นการนำเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากทั่วโลกมาเชื่อมโยงเข้าหากัน
5.       อธิบายความหมาย โลกไซเบอร์   พอเข้าใจ
             ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace
6.       โปรแกรม  Web Browser คืออะไร  มีประโยชน์อย่างไร
           โปรแแกรมสำหรับเข้าใช้อินเตอร์เน็ต
7.       ยกตัวอย่าง โปรแกรม  Web Browser ที่ได้รับความนิยม มา 3 ตัวอย่าง พร้อมรูปโลโกของ โปรแกรม  Web Browser นั้น ๆ
               

8.       เว็บไซต์  Search Engines  คือ อะไร มีประโยชน์อย่างไร

9.       ยกตัวอย่าง เว็บไซต์  Search Engines   ที่ได้รับความนิยม 3 เว็บไซต์  พร้อมโลโกของเว็บไซต์นั้น ๆ
10.        สืบค้น  เทคนิคการสืบค้นข้อมูลจาก เว็บไซต์  Search Engines  มา  1  เว็บไซต์  

18 มิ.ย. 2555


พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์
ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด
  และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่
ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึง
ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบ
คอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา
ชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น
 โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือ
เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้



ให้นักเรียนตรวจสอบข้อมูลต่อไปนี้ ว่า เป็นการกระทำผิดมาตราใด และ มีบทลงโทษอย่างไร


1.       แอบดูรหัสเข้าคอมพิวเตอร์ของพี่วิเชพ ภายหลังแอบเข้าไปดูว่ามีอะไรน่าสนใจหรือไม่ ตอนที่เขาไม่อยู่
2.       แอบดูรหัสเข้าอีเมลของพี่เอก แล้วนำไปเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต เพื่อบอกว่าฉันทำได้
        3.       แอบดูรหัสเข้าอีเมลของพี่นี แล้วแอบเข้าไปอ่านอีเมลเฉพาะที่น่าสนใจ แต่ไม่ได้ลบออกนะ

4.       แอบดักรับข้อมูลที่พี่มาย ส่งไปให้เพื่อนหนุ่ม แล้วนำไปบอกต่อเพื่อนหนุ่มอีกคนหนึ่ง เพื่อความสนุก
5.       แอบแก้ไขข้อมูลที่อยู่ของพี่เก๋ ในฐานข้อมูลของโรงเรียน ทำให้โรงเรียนส่งจดหมายทวงหนี้ไปผิดที่
6.       ล้มเสาไฟฟ้า เพื่อให้ไฟฟ้าดับ และสายโทรศัพท์ขาด แฟนสาวของตนจะได้ส่งอีเมลไปหาแฟนใหม่ไม่ได้
7.       ส่งอีเมลชวนคนทั้งประเทศ เขียนจดหมายลูกโซ่ เพื่อความสนุก
8.       แจกโปรแกรมสำหรับดูเว็บแคมที่ใช้ในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง โดยใช้รหัสผ่านเข้าระบบที่ห้างฯ มิได้เปิดเผย
9.       ทำเว็บบอร์ดให้ชาวไทยเข้าไปเขียนเรื่องซุบซิบ นักแสดง นักร้อง นักการเมือง
10.  ส่งรูปพี่นุ้ยที่ถูกเติมหนวด หรือเปลี่ยนสีเสื้อ เข้าไปในเว็บบอร์ด
11.  เช่าเครื่องบริการในอเมริกา เพื่อให้ชาวโลกเข้าไปดาวน์โหลดเพลงไทยที่กำลังวางแผง
12.  ส่งอีเมลที่เป็นไวรัสให้พี่บุ๋ม แล้วบอกว่าเป็นรายงานการประชุมที่สำคัญมาก

16 ก.พ. 2555

Android คือ .... ?

แอนดรอยด์ (Android) กูเกิลแอนดรอยด์ (Google Android) หรือ ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android Operating System)
 เป็นชื่อเรียกชุดซอฟท์แวร์  สำหรับอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ ที่มีหน่วยประมวลผลเป็นส่วนประกอบ อาทิเช่น คอมพิวเตอร์, โทรศัพท์ (Telephone), โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cell phone), อุปกรณ์เล่นอินเตอร์เน็ตขนาดพกพา (MID) เป็นต้น แอนดรอยด์นั้น ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 โดยบริษัท กูเกิล จุดประสงค์ของแอนดรอยด์นั้น มีจุดเริ่มต้นมาจากบริษัท Android Inc. ที่ได้นำเอาระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux) ซึ่งนิยมนำไปใช้งานกับเครื่องแม่ข่าย (Server) เป็นหลัก นำมาลดทอนขนาดตัว (แต่ไม่ลดทอนความสามารถ) เพื่อให้เหมาะสมแกการนำไปติดตั้งบนอุปกรณ์พกพา ที่มีขนาดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่จำกัด โดยหวังว่า แอนดรอยด์ นั้นจะเป็นหุ่นยนต์ตัวน้อย ๆ ที่คอยช่วยเหลืออำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่พกพามัน ไปในทุกที่ ทุกเวลา

กูเกิลแอนดรอยด์ เป็นชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของเจ้าแอนดรอยด์ เนื่องจากปัจจุบันนี้ บริษัทกูเกิล เป็นผู้ที่ถือสิทธิบัตรในตราสัญญาลักษณ์ ชื่อ และ รหัสต้นฉบับ (Source Code) ของแอนดรอยด์ ภายใต้เงื่อนไขการพัฒนาแบบ GNL โดยเปิดให้นักพัฒนา (Developer) สามารถนำรหัสต้นฉบับ ไปพัฒนาปรับแต่งได้อย่างเปิดเผย (Open source) ทำให้แอนดรอยด์มีผู้เข้าร่วมพัฒนาเป็นจำนวนมาก และพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว
แอนดรอยด์เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พุทธศักราช 2550 ปัจจุบันมีผู้ร่วมพัฒนากว่า 52 องค์กร ประกอบด้วยบริษัทซอฟท์แวร์ บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ บริษัทผู้ให้บริการเครือข่าย และบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ฯลฯ


ประเภทของชุดซอฟท์แวร์ เนื่องจากแอนดรอยด์นั้นเปิดให้นักพัฒนาเข้าไปชมรหัสต้นฉบับได้ ทำให้มีผู้พัฒนาจากหลายฝ่ายนำเอารหัสต้นฉบับมาปรับแต่ง และสร้างแอนดรอยด์ในแบบฉบับของตนเองขึ้น เราจึงแบ่งประเภทของแอนดรอยด์ออกได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. Android Open Source Project (AOSP) เป็นแอนดรอยด์ประเภทแรกที่กูเกิลเปิดให้สามารถนำ “ต้นฉบับแบบเปิด” ไปติดตั้งและใช้งานในอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายได ๆ
2. Open Handset Mobile (OHM) เป็นแอนดรอยด์ที่ได้รับการพัฒนาร่วมกับกลุ่มบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์พกพา ที่เข้าร่วมกับกูเกิลในนาม Open Handset Alliances (OHA) ซึ่งบริษัทเหล่านี้จะพัฒนาแอนดรอยด์ในแบบฉบับของตนออกมา โดยรูปร่างหน้าตาการแสดงผล และฟังค์ชั่นการใช้งาน จะมีความเป็นเอกลักษณ์ และมีลิขสิทธิ์เป็นของตน พร้อมได้รับสิทธิ์ในการมีบริการเสริมต่าง ๆ จากกูเกิล ที่เรียกว่า Google Mobile Service (GMS) ซึ่งเป็นบริการเสริมที่ทำให้แอนดรอยด์มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามจุดประสงค์ของแอนดรอยด์ แต่การจะได้มาซึ่ง GMS นั้น ผู้ผลิตจะต้องทำการทดสอบระบบ และขออนุญาตกับทางกูเกิลก่อน จึงจะนำเครื่องออกสู่ตลาดได้
3. Cooking หรือ Customize เป็นแอนดรอยด์ที่นักพัฒนานำเอารหัสต้นฉบับจากแหล่งต่าง ๆ มาปรับแต่ง ในแบบฉบับของตนเอง โดยจะต้องทำการปลดล๊อคสิทธิ์การใช้งานอุปกรณ์ หรือ Unlock เครื่องก่อน จึงจะสามารถติดตั้งได้ โดยแอนดรอยด์ประเภทนี้ถือเป็นประเภทที่มีความสามารถมากที่สุด เท่าที่อุปกรณ์เครื่องนั้น ๆ จะรองรับได้ เนื่องจากได้รับการปรับแต่งให้เข้ากับอุปกรณ์นั้น ๆ จากผู้ใช้งานจริง

ที่มา :  http://community.siamphone.com/viewtopic.php?t=287160

9 ก.พ. 2555

ตัวอย่างข้อสอบคอมพิวเตอร์ (ชุดที่ 3)


ข้อที่ 1 :  ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนหลักในการทำงานของคอมพิวเตอร์     
                1. ประมวลผล
                2. เก็บข้อมูล
                3. รับข้อมูล
              4. นำข้อมูลเข้า
คำอธิบาย
(คนที่จะนำข้อมูลเข้าได้ก็คือ User ค่ะ)
ข้อที่ 2 :  หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในระบบคอมพิวเตอร์เรียกว่า        
            1. บิต
            2. ไบต์
            3. ฟิลด์
            4. เร็คคอร์ด
ข้อที่ 3 :  ข้อมูลเมื่อผ่านการประมวลผลแล้ว จะได้อะไร       
                1. Document
                2. Report
                3. Information
                4. Output
ข้อที่ 4 :  สัญญาณในคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณชนิดใด       
                1. อนาล็อก
                2. ดิจิตอล
                3. ไฮบริค
                4. ไฟฟ้า
ข้อที่ 5 :  สิ่งใดที่หุ่นยนต์ไม่สามารถทำได้     
                1. การเปิดกล่องระเบิด
                2. การเลือกผลไม้
                3. การก่อการร้าย
                4. การปอกเลือกไข่ต้ม
ข้อที่ 6 :  IP Address คือ       
                1. หมายเลยประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่าย
                2. โพรโทคอลที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                3. หมายเลขประจำของเครื่องเซิร์ฟเวอร์
                4. ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต

ข้อที่ 7 :  ข้อใดกล่าวถึง Protocol ได้ถูกต้อง  
                1. การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
                2. การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล
                3. การบริหารวารสารและข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต
                4. ภาษาการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบอินเทอร์เน็ต
ข้อที่ 8 :  ส่วนประกอบใดของโปรแกรม Internet Explorer ที่ทำหน้าที่แสดงที่อยู่ของเว็ปไซด์
                1. แถบชื่อ
                2. แถบสื่อสาร
                3. แถบสถานะ
                4. แถบที่อยู่ของเว็บไซต์
ข้อที่ 9 :  s15550036@student.rit.ac.th   ข้อความ “s1555036” หมายถึงข้อใด        
                1. Domain Name
                2. Password
                3. Sub Domain
                4. Username
ข้อที่ 10 :  ไฟล์ที่ถูกบีบอัดด้วยโปรแกรม WinZip จะมีส่วนขยายหรือนามสกุลไฟล์ตามข้อใด
                1. .doc
                2. .zip
                3. .com
                4. .txt
ข้อที่ 11 :  ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการที่อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะไม่จำกัดผู้ใช้  ปัญหาดังกล่าวคือ           
                1. อาจมีผู้บุกรุก เข้าทำลายระบบคอมพิวเตอร์
                2. ความปลอดภัยของข้อมูล
                3. ลิขสิทธิ์
                4. ถูกทุกข้อ
ข้อที่ 12 :  ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการประมวลผลแบบระบบฐานข้อมูล    
                1. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล
                2. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลลงได้
                3. ข้อมูลไม่สูญหายเนื่องจากถูกเก็บไว้หลายๆ ที่
                4. ประหยัดอุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูล



ข้อที่ 13 :ข้อใดจัดเป็นโปรแกรม DBMS       
                1. โปรแกรมภาษาโคบอล
                2. โปรแกรมภาษาปาสคาล
                3. โปรแกรมภาษาเบสิค
                4. โปรแกรม SQL

ข้อที่ 14 :  ผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมความปลอดภัยของข้อมูล เช่น กำหนดการเข้าถึงข้อมูลของแต่ละคน ตรงกับบุคคลต่อไปนี้           
                1. Programmers
                2. DBA
                3. DBMS
                4. Computer Analysis
ข้อที่ 15 :  ข้อใดไม่ใช่ผลเสียของการทำงานด้วยระบบไฟล์   
                1. เปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บ
                2. เขียนโปรแกรมเพื่อจัดการกับข้อมูลยาก
                3. เกิดความขัดแย้งของข้อมูล
                4. ผิดทุกข้อ