28 ธ.ค. 2554

โปรแกรมอรรถประโยชน์

1. โปรแกรมอรรถประโยชน์ ทำหน้าที่อย่างไรบ้าง
     เป็นโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ช่วยสนับสนุน / เพิ่มขีดความสามารถของโปรแกรมใช้งานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  
2. โปรแกรมอรรถประโยชน์ แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่.... ? แต่ละชนิดทำหน้าที่อะไร
     ก. โปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับระบบปฏิบัติการ   : มักเป็นโปรแกรมที่ติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว เช่น โปรแกรมจัดการไฟล์ โปรแกรมยกเลิกการติดตั้ง โปรแกรมสแกนดิสก์  โปรแกรมจัดเรียงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
     ข. โปรแกรมอรรถประโยชน์อื่น ๆ    เป็นโปรแกรมเสริมการทำงานอื่นๆ นอกเหนือจากโปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับระบบปฏิบัติการ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส โปรแกรมบีบอัดไฟล์ เป็นต้น

3. ตัวอย่างโปรแกรมโปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับระบบปฏิบัติการ
    3.1 โปรแกรมจัดการไฟล์ (File manager) เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อช่วยจัดการไฟล์ต่าง ๆ เช่น การคัดลอกไฟล์ การเปลี่ยนชื่อไฟล์ การลบไฟล์ การเรียกใช้โปรแกรมต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก  เป็นต้น นอกจากนี้ ระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ ได้เพิ่มความสามารถการแสดงไฟล์เป็นรูปภาพเหมือนจริง ทำให้การใช้งานโปรแกรมมีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

    3.2  โปรแกรมยกเลิกการติดตั้ง (Uninstaller) เป็นโปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรมที่ติดตั้งไว้  หรือเป็นโปรแกรมลบโปรแกรมที่ติดตั้งไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง โดยส่วนใหญ่บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์จะติดตั้งโปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรมไว้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมประยุกต์เหล่านั้นอยู่แล้ว

    3.3 โปรแกรมสแกนดิสก์ (Disk Scanner) เป็นโปรแกรมสำหรับตรวจสอบหาความเสียหายที่เกิดกับฮาร์ดิสก์  คือ เมื่อใช้ฮาร์ดิสก์เป็นเวลานาน มักเกิดส่วนที่เสียหายเรียกว่า bad sector ส่งผลให้การทำงานของฮาร์ดดิสก์ช้าลง หรือทำให้การบันทึกหรือเขียนข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ยากขึ้น ดังนั้นผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมดังกล่าวตรวจสอบฮาร์ดดิสก์เพื่อค้นหาความเสียหายไฟล์ที่มีข้อผิดพลาด และซ่อมแซมได้

    3.4โปรแกรมจัดเรียงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ (Disk Defragmenter)  ทำหน้าที่จัดเรียงข้อมูลที่ถูกจัดเก็บบนฮาร์ดดิสก์ให้เป็นระเบียบเพื่อความรวดเร็วในการเรียกใช้งาน  กล่าวคือ เมื่อมีการใช้งานฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์นั้นอยู่บ่อย ๆ ไฟล์จะถูกจัดเก็บกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบและไม่ได้อยู่เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน เมื่อจะเรียกใช้ภายหลังจะทำให้เสียเวลาในการดึงข้อมูลนั้น ๆ ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม disk deflagment ช่วยได้

    3.5 โปรแกรมรักษาหน้าจอ ( Screen saver) เป็นโปรแกรมสำหรับรักษาและช่วยยืดอายุการใช้งานจอภาพของคอมพิวเตอร์ กล่าวคือ การเปิดจอภาพของคอมพิวเตอร์ให้ทำงานและปล่อยทิ้งไว้ให้แสดงภาพเดิมโดยไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดรอยไหม้บนสารเรืองแสงที่ฉาบผิวจอ และไม่สามารถลบหายไปได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานจะทำให้อายุการใช้งานหน้าจอสั้นลง โปรแกรมดังกล่าวนั้นเราสามารถตั้งค่าระยะเวลาให้โปรแกรมตรวจสอบและเริ่มทำงานได้ หากไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆของจอภาพ และเมื่อเราเริ่มทำงานใหม่โปรแกรมนี้ก็จะปิดตัวเองอัตโนมัติ

4. ตัวอย่างโปรแกรมโปรแกรมอรรถประโยชน์ด้านอื่น ๆ
    4.1  โปรแกรมป้องกันไวรัส (anti virus program)  โปรแกรมไวรัสเป็นโปรแกรมที่ผู้ไม่ประสงค์ดีพัฒนาขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน เช่น ทำลายระบบปฏิบัติการ ทำลายข้อมูล  รบกวนการทำงาน เช่น ทำให้ระบบบูตเครื่องช้าลง  เข้าโปรแกรมได้ไม่สมบูรณ์  คอมพิวเตอร์ค้าง มีข้อความรบกวนขึ้นมาบนจอภาพ เป็นต้น    โปรแกรมประเภทนี้อาจแบ่งเป็น 
              4.1.1 Anti virus  เป็นโปรแกรมป้องกันไวรัสทั่ว ๆ ไป โปรแกรมนี้จะค้นหาและทำลายไวรัสในเครื่องคอมพิวเตอร์  ตัวอย่างโปรแกรม เช่น  McAfee VirusScan  , Kaspersky ,  AVG Antivirus  เป็นต้
              4.1.2 Anti spyware  เป็นโปรแกรมป้องกันการโจรกรรมข้อมูลจากไวรัสสปายแวร์และจากแฮ็กเกอร์ รวมถึงกำจัดแอดแวร์ ซึ่งเป็นป๊อบอัพการโฆษณาบนอินเตอร์เน็ต เช่น McAfee , AntiSpyware เป็นต้น

    4.2 โปรแกรมไฟร์วอลล์ (firewall) เป็นโปรแกรมป้องกันผู้บุกรุกเข้ามาใช้งานคอมพิวเตอร์ในระบบของเราโดยไม่ได้รับอนุญาตทั้งระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต โดยโปรแกรมจะทำการตรวจสอบข้อมูลที่เข้าและออกจากระบบ ถ้าพบว่ามีข้อมูลที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งอาจเป็นข้อมูลจากผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาในระบบ โปรแกรมจะไม่อนุญาตให้ข้อมูลดังกล่าวเข้ามาในระบบ เช่น  โปรแกรม Windows Firewall , ZoneAlarm  เป็นต้น


    4.3  โปรแกรมบีบอัดไฟลล์    เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่บีบอัดไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง ไฟล์ที่ได้จากการบีบอัดเรียกว่า ซิปไฟล์ (Zip file) โปรแกรมบีบอัดไฟล์ที่นิยมใช้ เช่น Winzip , Winrar เป็นต้น


22 ธ.ค. 2554

โครงงานคอมพิวเตอร์ ... ?

1. โครงงานคอมพิวเตอร์ คือ …. ?


โครงงานคอมพิวเตอร์ คือ กิจกรรมที่นำความรู้ในด้านคอมพิวเตอร์มาใช้แก้ปัญหา หรือนำผลงานมาประยุกต์ใช้จริง โดยนักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า และปฏิบัติด้วยตนเองตามประสบการณ์ ความสามารถ หรือความสนใจ

2. โครงงานคอมพิวเตอร์มีประโยชน์ ดังนี้ คือ .... ?

2.1 ได้พัฒนาผลงานตามความรู้ ความสนใจและศักยภาพของตนเอง

2.2 ได้ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาได้อย่างมีระบบ

2.3 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ และประยุกต์ความรู้ ทักษะและการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาได้

2.4 ได้ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น

2.5 ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

2.6 สื่อสารความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านการพูด การเขียน รวมทั้งการเลือกรูปแบบการนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจ

2.7 มีจิตสำนึกและความรับผิดชอบในการพัฒนาระบบ

3. โครงงานคอมพิวเตอร์ มี 5 ประเภท ได้แก่อะไรบ้างอธิบายความหมายของแต่ละประเภทพอเข้าใจ

3.1 โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา คือ โครงงานที่มีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำเสนอเนื้อหาบทเรียน

3.2 โครงงานการพัฒนาเครื่องมือ หมายถึง โครงงานเพื่อสร้างฮาร์ดแวร์ หรือพัฒนาซอฟต์แวร์

3.3 โครงงานการทดลองทฤษฎี เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง พิสูจน์ทฤษฎีจากการศึกษาค้นคว้า

3.4 โครงงานการประยุกต์ใช้งาน เป็นโครงงานที่นำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดิจิตอลมาศึกษาและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้งานในชีวิตประจำวัน

3.5 โครงงานพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ เป็นโปรแกรมพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ศึกษาความต้องการของผู้ใช้งานและออกแบบโปรแกรมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ตามความเหมาะสม

21 ธ.ค. 2554

รู้หรือเปล่า ...?

1. อธิบายเกี่ยวกับประโยชน์การใช้งานของอุปกรณ์ต่อไปนี้ Joystick / stylus /flatbed scanner / OMR


2. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ทำหน้าที่อะไร

3. ความเร็วของ CPU ถูกควบคุมโดยสัญญาณอะไร

4. หน่วยวัดความเร็วของ CPU เรียกว่า อะไร

5. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) แบ่งเป็น 2 หน่วย ได้แก่ อะไรบ้าง

6. อธิบายความหมายและความสำคัญของหน่วยควบคุม และ หน่วยตรรกะ มาพอเข้าใจ

7. หน่วยประมวลผลกลาง(CPU) มีองค์ประกอบสำคัญ 2 องค์ประกอบ ได้แก่อะไรบ้าง

8. อธิบายความหมายของ เรจิสเตอร์ กับ บัส มาพอเข้าใจ

19 ธ.ค. 2554

โปรแกรมแปลภาษา ..... ?

โปรแกรมแปลภาษา เป็นซอฟต์แวร์หรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่แปล Source Program
ให้เป็น Object Program เนื่องจากภาษาระดับต่ำและภาษาระดับสูงเป็นภาษา
ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถรับรู้ได้ จำเป็นต้องมีชุดคำสั่งที่ใช้เป็นตัวแปลภาษา
ให้เป็นภาษาเครื่องเสียก่อน ซึ่งโปรแกรมแปลภาษาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

 1. ตัวแปลภาษาระดับต่ำ   ภาษาระดับต่ำแม้ว่าจะเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง แต่ลักษณะของภาษานี้ได้ใช้ตัว อักษรแทนชุดคำสั่งของเลขฐานสองในภาษาเครื่อง จึงจำเป็นต้องมีชุดคำสั่งที่ใช้แปลภาษาระดับต่ำ ให้เป็นภาษาเครื่อง ซึ่งชุดคำสั่งที่ใช้แปลภาษาระดับต่ำนี้ ได้แก่ โปรแกรมภาษาแอสแซมเบลอร์ (Assembler) ที่ใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่า แอสเซมบลี

2. ตัวแปลภาษาระดับสูง ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่เขียนขึ้นมาเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานโดยใช้คำสั่งที่มนุษย์อ่านและเข้าใจได้แต่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้าใจได้จึงต้องมีชุดคำสั่งที่ใช้แปลภาษาระดับสูง ให้เป็นภาษาเครื่อง ซึ่งโปรแกรมแปลภาษาระดับสูงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

       2.1 คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ลักษณะการแปลภาษาระดับสูงของคอมไพเลอร์นั้น เป็นลักษณะการตรวจสอบคำสั่งที่รับเข้ามาว่าการเขียนคำสั่ง นั้นถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษาหรือไม่
ถ้ายังไม่ถูกต้องก็จะแจ้งข้อผิดพลาด ให้ผู้ใช้ทราบ เพื่อจะได้ทำการแก้ไข ให้ถูกต้อง
ถ้าหากตรวจสอบแล้วถูกต้อง ก็จะแปลจาก Source Program ให้เป็น Object Program

เก็บไว้ ในหน่วยความจำ และถ้ามีการ แก้ไขเปลี่ยนแปลงชุดคำสั่งใหม่ จะต้องมีการแปลชุดคำสั่งใหม่ทั้งโปรแกรม เพื่อเก็บเป็น Object Program อีกครั้งหนึ่ง การใช้คอมไพเลอร์ ถ้าเป็นชุดคำสั่งที่ต้องการทำการประมวลผลต่อเนื่องกันหลาย ๆ ครั้งจะทำให้การประมวลผลเร็ว เพราะไม่ต้องแปลใหม่อีกสามารถเรียกใช้ Object Program ได้เลย ภาษาที่ใช้ตัวแปล ประเภทนี้ เช่น FORTRAN ,COBOL เป็นต้น

      2.2 อินเตอร์พลีตเตอร์ (Interpreter) เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาระดับสูงให้เป็น
ภาษาเครื่อง โดยทำการแปลชุดคำสั่งที่นำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ทีละคำสั่ง
และทำการประมวลผลทันที โดยไม่ต้องทำให้เป็น Object Program ถ้าหากพบข้อผิดพลาดโปรแกรมจะหยุดทำงานทันที เมื่อทำการแก้ไขเพิ่มเติมชุดคำสั่งก็ต้อง
แปลคำสั่งที่แก้ไขเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจึงทำการประมวลผลโดย ไม่ต้องแปลใหม่
หมดทั้งโปรแกรม แต่การใช้ อินเทอร์พลีตเตอร์ถ้าเป็นชุดคำสั่งที่ต้องการทำการประมวลผลต่อเนื่องกันหลาย ๆ ครั้งจะทำให้การประมวลผลช้างลง เพราะต้องแปลใหม่ทุกครั้งที่มีการประมวลผล ภาษาที่ใช้ตัวแปลประเภทนี้ เช่น PASCAL, BASIC เป็นต้น

ตอบคำถามดูหน่อย
1. โปแกรมแปลภาษาคือ .... ?

2. โปรแกรมแปลภาษาทำหน้าที่.... ?
3. โปรแกรมแปลภาษาแบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
4. ตัวแปลภาษาระดับต่ำ ทำหน้าที่ ... .?
5. แอสแซมเบลอร์ คือ ....?
6. ตัวแปลแปลภาษาระดับสูง ทำหน้าที่ …?
7. ตัวแปลภาษาระดับสูงแบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
8. คอมไพเลอร์ กับ อินเตอร์พลิตเตอร์ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

8 ธ.ค. 2554

ผังงานการเขียนโปรแกรมแบบลำดับ

ตัวอย่างที่ 1 จงเขียนโปรแกรมหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ซึ่งมีความกว้างตามที่ผู้ใช้กำหนด
  1. สิ่งที่โจทย์ต้องการ    คำนวณหาพื้นที่รูปสี่เหลี่่ยมจตุรัสแล้วแสดงผล
  2. รูปแบบของผลลัพธ์ 
  3. ข้อมูลนำเข้า
           - ความกว้างของสี่เหลี่ยม
  4. ตัวแปรที่ใช้
           w   แทน ความกว้าง
          area แทน พื้นที่รูปสี่เหลี่ยม
  5. ขั้นตอนการประมวลผล
       1. รับ  w
       2. คำนวณ   area = w*w
       3. แสดงผล
   6. ผังงาน

การเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง

โครงสร้างในการเขียนโปรแกรมมี 3 แบบ ได้แก่
     1.  โครงสร้างแบบลำดับ(Sequential Structure)  เป็นโครงสร้างที่แสดงขั้นตอนการทำงานที่เรียงเป็นไปตามลำดับก่อนหลัง จากคำสั่ง 1 ไปคำสั่ง 2 ต่อไปจนถึงคำสั่งสุดท้ายและแต่ละคำสั่งมีการทำงานเพียงคร้ังเดียวเท่านั้น



     2.  โครงสร้างแบบทางเลือก (Selection Structure) เป็นโครงสร้างที่มีการตรวจสอบเงื่อนไขในการตัดสินใจ แบ่งเป็น
           2.1 โครงสร้างแบบมีทางเลือก 2 ทาง




           2.2 โครงสร้างแบบมีทางเลือกมากกว่า 2 ทาง

     3.  โครงสร้างแบบทำซ้ำ (Repetition Structure)  เป็นโครงสร้างที่มีการสั่งให้ทำงานชุดคำสั่งนั้นๆ ในลักษณะวนซ้ำหลายๆ รอบ โดยมีการตรวจสอบเงื่อนไขเพื่อตัดสินใจระหว่างทำซ้ำรอบต่อไปหรือเลิกทำซ้ำ โครงสร้างแบบนี้มี 2 ลักษณะ คือ
          3.1  การทำซ้ำตราบเท่าที่เงื่อนไขเป็นจริง (  Do  while)
          3.2  การทำซ้ำจนกระทั่งเงื่อนไขเป็นจริง  (Do until)



6 ธ.ค. 2554

การเขียนผังงาน ( Flowchart )


ผังงาน คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบทีละขั้นตอน รวมไปถึงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่แรกจนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

ประโยชน์ของผังงาน


• ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม และสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน

• ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด

• ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

• ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมได้อย่างง่าย และรวดเร็วมากขึ้น


วิธีการเขียนผังงานที่ดี


• ใช้สัญลักษณ์ตามที่กำหนดไว้

• ใช้ลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา

• คำอธิบายในภาพควรสั้นกระทัดรัด และเข้าใจง่าย

• ทุกแผนภาพต้องมีลูกศรแสดงทิศทางเข้า - ออก

• ไม่ควรโยงเส้นเชื่อมผังงานที่อยู่ไกลมาก ๆ ควรใช้สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อแทน

• ผังงานควรมีการทดสอบความถูกต้องของการทำงานก่อนนำไปเขียนโปรแกรม

ตัวอย่างสัญลักษณ์ที่สำคัญในการเขียนผังงาน