25 ก.พ. 2554

การสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
(Fundamental of Data Communications and Networks)
การสื่อสารด้วยการสนทนาพูดคุย จัดเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา ซึ่งหากพิจารณาในรายละเอียดของการพูดคุยสนทนากันนั้น จะประกอบด้วยคู่สนทนาตั้งแต่สองคนขึ้นไป แต่ละคนก็จะสามารถเป็นได้ทั้งผู้พูดและผู้ฟังเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งกันและกัน คำพูดหรือข่าวสารที่พูดไป ต่างฝ่ายก็ได้ยิน เพราะว่าตัวกลางที่นำพาเสียงพูดไปก็คืออากาศที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรานั่งเอง นอกจากนี้ ยังอาจมีสิ่งรบกวนรอบข้างตัวเราที่เกิดขึ้นในระหว่างสนทนากัน ไม่ว่าจะเป็น สิ่งรบกวนจากธรรมชาติเสียงรถจักยานยนต์ เสียงแตรรถยนต์ เสียงรถตัดหญ้า รวมทั้งเสียงอื่น ๆ ที่เข้ามารบกวนในขณะที่สนทนากัน ทำให้จำเป็นต้องมีสมาธิในการจับใจความระหว่างคู่สนทนามากขึ้นสำหรับการสื่อ สารแบบซึ่งหน้าหรือการสื่อสารบนพื้นที่เดียวกัน เป็นการสื่อสารในระยะทางใกล้ ๆ ซึ่งถูกจำกัดในเรื่องของระยะทางเป็นสำคัญ และในกรณีที่ต้องการสื่อสารบนระยะทางที่ห่างไกลกันเป็นไมล์ในรูปแบบของ อิเล็กทรอนิกส์ มนุษย์จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร หรือเทคโนโลยีโทรคมนาคมเข้ามาช่วยเพื่อตอบสนองดังกล่าว
การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นกระบวนการถ่ายโอนข้อมูลหรือสารสนเทศจาก ต้นทาง (Source) ไปยังปลายทาง (Destination) ซึ่งระบบการสื่อสารส่วนใหญ่มักจะหมายถึงระยะทาง (Distance) ระหว่างคอมพิวเตอร์และอาจข้องเกี่ยวกับระบบโทรศัพท์ คลื่นวิทยุ และวิทยุทัศน์ และหากเป็นระบบการสื่อสารในวงกว้างก็จะมีความซับซ้อนสูงมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจมีการรวมข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่ประกอบ ข้อความ เสียง วิดีโอ ที่โอนถ่ายกันบนสายสื่อสาร เช่น สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออปติค หรือสื่อไร้สายอย่างคลื่นวิทยุ และไมโครเวฟ สำหรับเส้นทางของการสื่อสารอาจจะเดินทางผ่านข้ามประเทศ ข้ามทวีป ผ่านใต้ทะเลมหาสมุทร โดยอาจมีการใช้ทั้งสื่อแบบมีสายและไร้สายร่วมกัน ตัวอย่างเช่น ข้อมูลต้นฉบับที่ส่งไป ซึ่งเดิมอยู่ในรูปแบบของสัญญาณเสียงหรือสัญญาณแอนะล็อก ก็อาจจะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยต่อการเดินทางในระยำไกล ๆ บนสายดิจิตอลความเร็วสูง และท้ายสุดเมื่อสัญญาณเดินทางไปถึงปลายทางก็จะมีการเปลี่ยนแปลงกลับมาเป็น สัญญาณแอนะล็อกเพื่อให้เหมือนกับ ต้นฉบับข้อมูลที่ส่งมา สิ่งเหล่านี้หากมองในลักษณะภาพรวมแล้ว ดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่เลยทีเดียว แต่สำหรับโลกแห่งเทคโนโลยี การสื่อสารในยุคปัจจุบันนี้ ถือเป็นเรื่องราวปกติ
เทคโนโลยีการสื่อสารได้มีการพัฒนาไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาคอมพิวเตอร์ โดยมีการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันในลักษณะเครือข่ายซึ่งอาจอยู่ในบริเวณ พื้นที่ที่ใกล้กัน หรืออาจอยู่ต่างบริเวณที่มีระยะทางไกลกันออกไปแต่ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร และเครือข่ายจะทำให้สามารถสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้ ตัวอย่างเช่น การดำเนินธุรกรรมกับธนาคาร ไม่ว่าจะเป็น การฝากเงิน การถอนเงิน การตรวจสอบยอดบัญชี สิ่งเหล่านี้สามารถดำเนินการได้โยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังธนาคาร แต่สามารถดำเนินธุรกรรมดังกล่าวได้ผ่านเครื่องบริการเงินด่วนหรือเครื่องเอ ทีเอ็ม ซึ่งเราอาจใช้บริการอยู่ภายในจังหวัดหรือต่างจังหวัดที่ห่างไกลกันก็ได้ ก็เพราะว่าเครื่องเอทีเอ็มเหล่านี้ได้ มีการเชื่อมต่อออนไลน์กันในลักษณะเครือข่าย ทำให้สามารถสื่อสารและใช้ฐานข้อมูลร่วมกันได้นั่นเอง
จากข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้นที่ได้นำ มากล่าวถึง แต่แนวโน้มเทคโนโลยีการสื่อสารและระบบเครือข่ายจะเพิ่มทวีขึ้นเพื่อตอบสนอง ความต้องการของมนุษย์อยู่ทุกขณะ ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่เสมอ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบัน บางรุ่นได้ผนวกคุณสมบัติต่าง ๆ ที่มีฟังก์ชันการทำงานที่มิใช่เพียงแค่ใช้งานเพื่อโทรศัพท์คุยกันได้เท่า นั้น แต่สามารถนำไปใช้งานเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย ทำให้ผู้ใช้โทรศัพท์สามารถนำโทรศัพท์เพื่อติดต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้ สามารถส่งอีเมลและดำเนินธุรกรรมใด ๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ และด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารนี่เอง จึงทำให้สามารถย่อโลกทั้งโลกที่มีอาราเขตกว้างใหญ่ไพศาลนั้นให้ดูเล็กลง อย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากผู้คนทั่วโลกสามารถสื่อสารเพื่อรับรู้ข่าวสารต่าง ๆ ถึงกันได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ผ่านวิทยุ โทรทัศน์ที่ถ่ายทอดผ่านดาวเทียม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และที่สำคั ญ สำหรับการดำเนินชีวิตของผู้คนในยุคนี้ คงไม่สามารถปฏิเสธเทคโนโลยีดังกล่าวได้เลย
ความหมายของการสื่อสารข้อมูล ( Data Communication )
จากสิ่งที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น จึงสามารถสรุปความหมายของการสื่อสารข้อมูลได้ว่า คือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสองอุปกรณ์ ผ่านตัวกลางในการสื่อสาร ตัวอย่างเช่น การสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สองเครื่องด้วยการใช้สายเคเบิล เป็นตัวกลางในการสื่อสาร นอกจากนี้การสื่อสารข้อมูลยังมีทั้งการสื่อสารระยะใกล้หรือแบบโลคอล ในกรณีที่อุปกรณ์การสื่อสารต่าง ๆ อยู่ในบริเวณหรือตึกอาคารเดียวกัน และการสื่อสารระยะใกล้หรือแบบรีโมต ซึ่งอุปกรณ์การสื่อสารจะอยู่ไกลกัน หรือต่างพื้นที่

วิธีการสื่อสาร ( Communication Method )
วิธีการสื่อสาร สามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธีด้วยกัน คือ การสื่อสารบนพื้นที่เดียวกัน และการสื่อสารระยะไกล ซึ่งสามารถสรุปได้ดังรายละเอียดต่อไปนี้
        1. การสื่อสารบนพื้นที่เดียวกันหรือแบบโลคอล
                ในอดีต ......   การพูด / การแสดงกริยาหรือท่าทาง / เอกสาร
                 ปัจจุบัน ....... สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
        2. การสื่อสารระยะไกลหรือแบบรีโมต
ในอดีต ......... การส่งจดหมายทางไปรษณีย์ / โทรศัพท์ / โทรทัศน์
ปัจจุบัน........... การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล / โทรศัพท์ไร้สาย หรือวิดีโอโฟน /วิดีโอคอนเฟอร์เร็นซ์
และด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ประสิทธิภาพในการสื่อสารและการใช้ข้อมูลร่วมกัน
2. มีความรวดเร็ว
3. สื่อสารได้ในวงกว้าง โดยระยะทางและข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์จะไม่ใช่อุปสรรคอีกต่อไป
4. ความถูกต้องและแน่นอน
5. ง่ายต่อการเข้าถึง
เทคโนโลยีโทรคมนาคม ( Telecommunication )
ในบางครั้งจะเห็นคำพูดทั้งสอง ไม่วาจะเป็น คำว่าการสื่อสารข้อมูล หรือเทคโนโลยีคมนาคมมาใช้ร่วมกันเสมอ ซึ่งความจริงแล้วเทคโนโลยีโทรคมนาคมจะมีความหมายที่กว้างและครอบคลุมมากกว่า การสื่อสารข้อมูล หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การสื่อสารข้อมูลเป็นส่วนย่อยส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีโทรคมนาคมก็ว่าได้ เทคโนโลยีคมนาคม จะข้องเกี่ยวกับการส่งผ่านข้อมูลที่ประกอบด้วยเสียง และวิดีโอผ่านตัวกลางอย่างสายโทรศัพท์หรือคลื่นวิทยุ ซึ่งการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์นั่น ทำให้ได้ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสาธารณะที่มีการกระจายอยู่ทั่วไปในทั่ว ประเทศให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และทำให้สามารถส่งข้อมูลในระยะไกล ๆ ได้
สำหรับการสื่อสารข้อมูลระยะไกล ใน ปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่มักจะนึกภาพถึงความจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์แต่ความ เป็นจริงแล้วเทคโนโลยีโทรคมนาคมได้เกิดขึ้นและมีการนำมาใช้งานเนิ่นนานแล้ว เช่น ระบบโทรเลข ได้เริ่มใช้งานเมื่อปี ค.ศ. 1840 ดังนั้นใช่ว่าการสื่อสารข้อมูลระยะไกลจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เสมอไป แต่ด้วยความสามารถของคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีโทรคมนาคมและ เครือข่าย เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการใช้งานสูงสุด ตัวอย่างเช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งแฟกซ์ ทำให้เราไม่จำเป็นต้องมีเครื่องแฟกซ์ เชื่อมต่อ โยโมเด็มจะทำหน้าที่ในการเปลี่ยนสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เพื่อส่งผ่านสายโทรศัพท์ไปในระยะทางไกล ๆ ๆด้ เพียงเท่านี้ก็ทำให้สามารถส่งแฟกซ์ได้โยไม่ต้องมีเครื่องแฟกซ์ อีกทั้งยังสามารถใช้โมเด็มเพื่อเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เป็นต้น
โทรเลข ( Telegraphy )
หลักการทำงานของระบบโทรเลข จะใช้วิธีการแปลตัวอักษรหรืออักขระ ตัวเลข ให้เป็นรหัส จากนั้นทำกรแปลรหัสดังกล่าวให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งผ่านตัวกลาง เช่น สายทองแดงเพื่อไปยังปลายทาง เมื่อปลายทางได้รับก็จะทำการถอดรหัสให้เป็นข้อความ
โทรพิมพ์ ( Telex )
เป็นรูปแบบของบการบริการโทรเลขชนิด หนึ่ง แต่ผู้ใช้งานสามารถติดต่อโต้ตอบได้ โดยเครื่องโทรพิมพ์จะมีลักษณะคล้ายเครื่องพิมพ์ดีดที่เป็นได้ทั้งเครื่องรับ ส่งข้อมูลในตัวเดียวกัน โทรพิมพ์สื่อสารกันได้โดยอาศัยตัวทั้งสองฝั่งสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ด้วย การพิมพ์โต้ตอบระหว่างกัน โดยข้อความที่ส่งถึงกันจะทำได้ด้วยการพิมพ์ข้อความลงบนกระดาษพิมพ์ของทั้ง สองฝ่าย และถึงแม้ว่าฝ่ายผู้รับจะไม่มีพนักงานคอยรับข้อความ เครื่องก็สามารถทำงานและหยุดได้เองโดยอัตโนมัติ
โทรสาร ( Facsimile )
เครื่องโทรสารมักเรียกสั้น ๆ ว่า แฟกซ์ ใช้เทคนิคของแสงสแกนลงบนเอกสาร ต้นฉบับที่สามารถเป็นได้ทั้งข้อความและภาพ จากนั้นก็จะเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อส่งต่อไปตามสายโทรศัพท์ เมื่อเครื่องฝ่ายผู้รับได้รับข้อมูลที่ส่งมา ก็จะนำข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้านั้นมาเปลี่ยนเป็นข้อมูลที่เหมือนกับต้นฉบับ
โทรศัพท์ ( Telephone )
เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้เป็นอย่างสูง ซึ่งมักมีใช้งานตามบ้านเรือนเกือบทุกครัวเรือน ในปัจจุบัน ชุมสานโทรศัพท์นั้นได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบของสัญญาณดิจิตอลใน บางพื้นที่มากขึ้นตามลำดับ เพื่อรองรับการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง การใช้ชุมสายโทรศัพท์ในการสื่อสารนั้นราคาถูกและเป็นที่นิยม ตัวอย่างเช่น การใช้งานอินเทอร์เน็ตตามบ้านเรือนต่าง ๆ ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับโมเด็ม ซึ่งบางบริษัทที่บริการอินเทอร์เน็ตก็ยังคงรูปแบบการบริการแบบแอนะล็อกกับ แบบดิจิตอลความเร็วสูง โดยระบบดิจิตอลจะมีช่องสัญญาณหรือแบนด์วิดธ์ที่กว้างกว่า ทำให้มีการรับส่งข้อมูลที่รวดเร็วโดยเฉพาะข้อมูลในรูปแบบของสื่อประสมหรือ มัลติมีเดีย อีกทั้งในขณะที่ใช้งานก็ยังสามารถใช้งานโทรศัพท์ได้อีกด้วย เนื่องจากใช้ช่องความถี่ที่ต่างกันในการสื่อสาร ในขณะที่รูปแบบเดิมหรือแบบแอนะล็อกนั้น เมื่อใช้งานอินเทอร์เน็ตอยู่ก็จะไม่สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้
โทรทัศน์ ( Television )
เป็นระบบที่ใช้ในการแพร่ภาพกระจายในย่าน ความถี่สูง เช่น ที่ย่านความถี่สูง หรือย่านความถี่สูงมาก ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่ใช้สำหรับกิจการทางโทรทัศน์ ในอดีตการแพร่ภาพทางโทรทัศน์มักจะประสบกับปัญหากับพื้นที่รับสัญญาณ เช่น ตามจังหวัดที่ห่างไกล แต่ในปัจ จุบันได้มีการตั้งสถานีทวนสัญญาณโทรทัศน์ตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนตามจังหวัดต่าง ๆ สามารถรับชมการแพร่ภาพโทรทัศน์ได้ ปัจจุบันการส่งสัญญาณโทรทัศน์ในประเทศไทยมีอยู่ 2 ระบบด้วยกัน คือ ระบบออกอาการทั่วไป และอีกระบบอีกหนึ่ง คือ ระบบเคเบิลทีวี ซึ่งระบบนี้จำเป็นต้องสมัครสมาชิกและต้องเสียค่าบริการรายเดือน โดยจะมีเสารับสัญญาณที่แตกต่างกันกับเสาอากาศของโทรทัศน์ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีหนึ่งเรียกว่า Video on Demand ซึ่งเป็นระบบโทรทัศน์ที่ผู้ชมสามารถเป็นผู้เลือกชมรายการได้ด้วยตนเอง
วิทยุกระจายเสียง (Radio)
เป็นการสื่อสารที่อาศัย คลื่นวิทยุด้วยการส่งคลื่นไปยังอากาศเพื่อเข้าไปยังเครื่องรับวิทยุ โดยใช้เทคนิคการกล้ำสัญญาน หรือเรียกว่าการมอดูเลต (Modulate) การด้วยการรวมกับคลื่นเสียงที่เป็นไฟฟ้าความถี่เสียงรวมกัน ทำให้การสื่อสารด้วยวิทยุกระจายเสียงนั้นไม่จำเป็นต้องใช้สาย อีกทั้งยังสามารถส่งคลื่นได้ในระยะทางที่ไกลออกไปได้ตามประเภทของคลื่นนั้น ๆ
ไมโครเวฟ (Microwave)
ไมโครเวฟเป็นคลื่นวิทยุ ชนิดหนึ่งที่มีความถี่ระดับกิกะเฮิรตซ์ (GHz) และเนื่องจากความยาวของคลื่นมีหน่วยวัดเป็นไมโครเมตร จึงเรียกว่าไมโครเวฟนั่นเอง คลื่นไมโครเวฟเป็นคลื่นเส้นตรงในระดับสายตา ซึ่งหากลักษณะภูมิประเทศมีภูเขาหรือตึกสูงบดบังคลื่นแล้ว จะทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณไปยังที่หมายได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการติดตั้งจานรับส่งบนยอดตึกหรือยอดเขา เพื่อให้สัญญานส่งทอดต่อไปอีกได้
ดาวเทียม (Satellite) เนื่องจากคลื่นไมโครเวฟมีข้อจำกัดใน เรื่องของลักษณะภูมิประเทศที่มีผลต่อการบดบังคลื่น ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาดาวเทียม โดยความเป็นจริงแล้ว ดาวเทียมก็คือสถานีไมโครเวฟนั่งเอง แต่เป็นสถานีไมโครเวฟที่ลอยอยู่บนเหนือพื้นผิวโลก มีลักษณะเป็นจานขนาดใหญ่โคจรห่างจากพื้นโลกประมาณ 22,300 ไมล์ ทำให้สามารถติดต่อสถานีภาคพื้นดินที่อยู่บนพื้นโลกได้ เราสามารถส่งดาวเทียมที่เรียกว่า Grostationary ซึ่งเป็นดาวเทียมหมุนโคจรด้วยความเร็วเท่ากับโลก ทำให้ดูเหมือนกับไม่มีเคลื่อนไหว และด้วยการนำดาวเทียมดังกล่าวขึ้นไปโคจรเหนือพื้นผิวโลกเพียง 3 ดวง ก็สามารถครอบคลุมการสื่อสารได้ทุกหมุนโลก โดยดาวเทียมดวงหนึ่งส่งสัญญาณในบริเวณกว้างเท่ากับ 1 ใน 3 ของโลก (120 องศา) ดังนั้นดาวเทียม 3 ดวงก็ครอบคลุมบริเวณพื้นโลกได้ทั้งหมด (360 องศา) ส่วนการสื่อสารสามารถส่งสัญญาณแบบขาขึ้น (Uplink) ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณจากสถานีพื้นดินไปยังดาวเทียม และการส่งสัญญาณแบบขาลง (Downlink) ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณจากดาวเทียมมายังสถานีภาคพื้นดิน และด้วยเทคโนโลยีดาวเทียมในอนาคตก็จะสามารถสื่อสารได้ทั้งสองทาง ไม่ว่าจะเป็นแบบขาขึ้นหรือขาลงในขณะเดียวกัน
คุณสมบัติพื้นฐาน 3 ประการของการสื่อสารข้อมูล
(Three Fundamental Char Characteristics)
เมื่อการสื่อสารข้อมูล ได้เกิดขึ้น อุปกรณ์การสื่อสารจะต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการสื่อสาร ด้วยการรวมส่วนของฮาร์แวร์และซอฟต์แวร์เข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้สามารถทำการ สื่อสารได้ ผลของระบบการสื่อสารข้อมูลจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติพื้นฐาน 3 ประการด้วยกัน คือ
1. การส่งมอบ (Delivery) ระบบจะต้องสามารถส่งมอบ ข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทางได้อย่างถูกต้อง ข้อมูลที่ส่งไปจะต้องไปยังอุปกรณ์ตามจุดหมายที่ต้องการ ซึ่งอาจเป็นยูสเซอร์หรืออุปกรณ์ก็ได้
2. ความถูกต้องแน่นอน (Accuracy) ระบบจะต้องส่งมอบข้อมูลได้ถูกต้องและแน่ นอน อีกทั้งยังต้องสามารถส่งสัญญาณเตือนให้รับทราบในกรณีที่การส่งข้อมูลในขณะ นั้นไม่ถูกต้อง สูญหาย หรือไม่สามารถใช้งานได้
3. ระยะเวลา (Timeliness) ระบบจะต้องส่งหมอบ ข้อมูลในช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น ในบางระบบ เวลาอาจไม่ใช่สาระสำคัญมากนัก หากเกิดความล่าช้าในข้อมูลที่ส่งก็อาจยอมรับได้ โดยขอให้ข้อมูลไปถึงปลายทางก็ถือว่าเพียงพอ แต่ในขณะที่บางระบบโดยเฉพาะระบบเรียลไทม์ (Real-Time Transmission) ซึ่งระบบดังกล่าวจำเป็นต้องใช้เวลาที่ตอบสนองแบบทันทีทันใด จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์และสื่อส่งข้อมูลที่มีความเร็วสูง เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทางได้ทันที หากเกิดการหน่วงเวลาเวลาหรือความล่าช้าในระยะเวลาที่จัดส่ง ก็ส่งผลกระทบต่อการใช้งาน ดังนั้นความหมายของระยะเวลาที่เหมาะสม จึงหมายถึงข้อมูลที่ส่งไปยังจุดหมายปลายทางในระยะเวลาหนึ่ง ๆ ที่สามารถนำไปใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ โดยปราศจากนัยสำคัญว่าเกิดการหน่วงเวลา



องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล
(Compoments of Data Communication System)
ระบบการสื่อสารข้อมูล ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐานทั้ง 5 ดังต่อไปนี้
• ข้อมูล/ข่าวสาร (Message)
• ผู้ส่งข้อมูล (Sender/Source)
• ผู้รับข้อมูล (Receiver/Destination)
• ตัวกลางในการส่งข้อมูล (Transmission Medium)
• โปรโตคอล (Protocol)
ข้อมูล/ข่าวสาร (Message)
ข่าวสารในที่นี้คือข้อมูลหรือสารสนเทศ ต่าง ๆ ที่ต้องการสื่อสาร โดยข่าวสารอาจประกอบด้วยข้อความ ตัวเลข รูปภาพ เสียง หรือวิดีโอ หรืออาจเป็นสิ่งที่กล่าวมานั้นมารวมกัน เช่น ภาพพร้อมเสียง ซึ่งเรียกว่าสื่อประสม (Multimedia) ข้อมูลข่าวสารจะถูกทำการเข้ารหัส (Encoding ) เพื่อส่งผ่านตัวกลางส่งข้อมูล และเมื่อปลายทางได้รับข้อมูลที่ส่งมาก็จะทำการถอดรหัส เพื่อให้เป็นข้อมูลดั้งเดิมเช่นเดียวกับที่จะส่ง อย่างไรก็ตามระหว่างข้อมูลข่าวสารกำลังเดินทางมาถึงปลายทาง ก็อาจพบอุปสรรคจากสัญญาณรบกวนชนิดต่าง ๆ
ผู้ส่งสาร ( Sender / Source ) ผู้ส่งข้อมูลคืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งข้อมูลข่าวสาร ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ เวิร์กสเตชัน โทรศัพท์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
ผู้รับข้อมูล ( Receiver / Destination ) ผู้รับข้อมูลคืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับ ข้อมูลข่าวสารที่ทางผู้ส่งข้อมูลส่งให้ ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ เวิร์กสเตชัน โทรศัพท์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามในการรับส่งข้อมูล ตามปกติแล้วจะมีอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ DTE และ DCE
ตัวกลางในการส่งข้อมูล ( Transmission Medium ) ตัวกลางในการส่งข้อมูลในที่นี้ก็คือ เส้นทางที่ทำให้สามารถนำข้อมูลที่รับส่งกันนั้นเดินทางไปยังจุดหมายปลายทาง ระหว่างกันได้ โดยตัวกลางในการส่งข้อมูลก็จะมีทั้งแบบมีสาย เช่น สายเคเบิล สายคู่บิดเกลียว สายไฟเบอร์ออปติค แลตัวกลางในการส่งข้อมูลแบบไร้สาย เช่น คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ ดาวเทียม เป็นต้น
โปรโตคอล ( Protocol ) โปรโตคอลคือกฏเกณฑ์ ระเบียบ หรือข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นมา เพื่อเป็นข้อตกลงที่ใช้สำหรับเป็นมาตรฐานในการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการสื่อ สารข้อมูลให้ถูกต้องตรงกัน
ซอฟต์แวร์

9 ก.พ. 2554

ซอฟต์แวร์ของระบบสารสนเทศ

ซอฟต์แวร์ของระบบสารสนเทศ


ความหมายของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์(Software) หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “โปรแกรม” ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ หรือหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น

ประเภทของซอฟต์แวร์
       ซอฟต์แวร์จะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ(System Softwaer) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Softwaer) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Softwaer)      หมายถึง โปรแรกมที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นโปรแกรมตามหน้าที่การทำงานดังนี้

      1.1 OS (Operating System) คือ โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ควบคุมหน่วยความจำ ควบคุมหน่วยประมวลผล ควบคุมหน่วยรับและควบคุมหน่วยแสดงผล ตลอดจนแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงที่สุด และสามารถใช้อุปกรณ์ทุกส่วนของคอมพิวเตอร์และช่วยจัดการกระบวนการพื้นฐานที่สำคัญ ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นการเปิด หรือปิดไฟล์ การสื่อสารกันระหว่างชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในเครื่อง การส่งข้อมูลออกสู่เครื่องพิมพ์หรือสู่จอภาพ เป็นต้น ก่อนที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถอ่านไฟล์ต่าง ๆ หรือสามารถใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ได้จะต้องผ่านการดึงระบบปฏิบัติการออกมาฝังตัวอยู่ในหน่าวความจำก่อน ปัจจุบันนี้มีโปรแกรมระบบบอยู่หลายตัวด้วยกันซึ่งแต่ละตัวนั้นก็เป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ลักษณะการทำงานจะไม่เหมือนกัน ดังนี้

         DOS (Disk operating System) เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่ในอดีตออกมาพร้อมกับเครื่องพีซีของไอบีเอ็มรุ่นแรก ๆ จากนั้นก็มีการพัฒนารุ่นใหม่ออกมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงเวอร์ชั่นสุดท้ายคือ เวอร์ชั่น 6.22 หลังจากที่มีการประกาศใช้วินโดวส์ 95 ก็คงจะไม่ผลิต DOS เวอร์ชชั่นใหม่ออกมาแล้ว โดยทั่วไปจะนิยมใช้วินโดวส์ 3.x ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมเสริมชนิดหนึ่งที่ใช้ในดอส

          UNIX เป็นระบบ OS ที่สามารถใช้ร่วมกันได้หลายคน (Multiuser) หรือเป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย โดยที่ผู้ใช้แต่ละคนจะต้องมีชื่อและพาสเวิร์ดส่วนตัว และสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลก โดยผ่านทางสายโทรศัพท์และมี Modem เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลหรือโอนย้ายข้อมูล นิยมใช้อย่างแพร่หลายในมหาวิทยาลัย หน่วยงานรัฐบาล หรือบริษัทเอกชนที่มีระบบคอมพิวเตอร์ใหญ่ ๆ ใช้ ในระบบยูนิกซ์เองก็มีวินโดวส์อีกชนิดหนึ่งใช้เรียกว่า X Windows สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ระบบยูนิกซ์ในเครื่องพีซีที่บ้านก็มีเวอร์ชั่นสำหรับพีซีเรียกว่า Linux ซึ่งจะมีคำสั่งพื้นฐานคล้าย ๆ กับระบบยูนิกซ์

       LAN   เป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่ายเช่นเดียวกัน แต่จะใช้เชื่อมโยงกันในระยะใกล้ ๆ เช่น ในอาคารเดียวกันหรือระหว่างอาคารที่อยู่ใกล้กัน โดยใช้สาย Lan เป็นตัวเชื่อมโยง

WINDOWS เป็นระบบปฏิบัติการที่กำลังนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งพัฒนามาถึงรุ่น Windows 2000 แล้ว บริษัทไมโครซอฟต์ได้เริ่มประกาศใช้ MS Windows 95 ครั้งแรกเมื่อ 24 สิงหาคม ค.ศ.1995 โดยมีความคิดที่ว่าจะออกมาแทน MS-DOS และ วินโดวส์ 3.X ที่ใช้ร่วมกันอยู่ ลักษณะของวินโดวส์ 95 จึงคล้ายกับเป็นระบบโอเอสที่มีทั้งดอสและวินโดวส์อยู่ในตัวเดียวกัน แต่เป็นวินโดวส์ที่มีลักษณะพิเศษกว่าวินโดวส์เดิม เช่น มีคุณสมบัติเป็น Plug and play ซึ่งสามารถจะรู้จักฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องได้โดยอัตโนมัติ มีลักษณะเป็นระบบ 32 บิต ในขณะที่วินโดวส์ เดิมเป็นระบบ 16 บิต เป็นต้น บริษัทไมโครซอฟต์ไม่ได้หยุดเพียงแค่วินโดวส์ 95 แต่ได้มีการพัฒนาเพิ่มฟังก์ชันใหม่ ๆ เข้าไป ในที่สุดก็ออกระบบโอเอสตัวถัดมาเป็น MS Windows 98 และ MS Windows 2000 ตามลำดับโดยที่มีการติดตั้ง และการใช้งานที่มีพื้นฐานไม่แตกต่างกันมากนัก จึงง่ายสำหรับผู้ใช้ในการปรับตัวเข้ากับระบบโอเอสใหม่ ๆ

Windows NT เป็นระบบ OS ที่ผลิตจากบริษัทไมโครซอฟต์เช่นเดียวกัน เป็นระบบ 32 บิต มีรูปลักษณ์เป็นกราฟิกที่ต้องใช้เมาส์คล้ายกับวินโดวส์ทั่วไป แต่นิยมใช้ในระบบเวิร์กสเตชันมากกว่าในเครื่องพีซีทั่ว ไป

OS/2 เป็นระบบ OS ที่ผลิตออกมาจากบริษัท IBM เป็นระบบ 32 บิต ที่มีรูปลักษณ์เป็นกราฟฟิกที่ต้องใช้เมาส์ คล้ายกับวินโดวส์ทั่วไปเช่นกัน

1.2 Translation Program
คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาที่ไม่ใช่ภาษาเครื่อง หรือภาษาเครื่องที่ไม่เข้าใจให้เป็นภาษาที่เครื่องสามารถรู้เรื่องเข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้ เช่น ภาษา BASIC ,COBOL,C, PASCAL, FORTRAN, ASSEMBLY เป็นต้น สำหรับตัวแปลนั้นจะมี 3 แบบคือ

     1.2.1  Assembler เป็นโปแกรมที่ใช้แปลภาษาแอสแซมบลี ซึ่งมีลักษณะการแปลทีละคำสั่ง เมื่อทำตามคำสั่งนั้นเสร็จแล้ว ก็จะแปลคำสั่งถัดไปเรื่อย ๆ จนจบ
     1.2.2  Interpreter เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาเบสิก โดยจะแปลทีละคำสั่งแล้วทำตามคำสั่งนั้น แล้วแปลต่อไปเรื่อย ๆ จนจบโปรแกรม
     1.2.3 Compiler เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ซึ่งจะแปลทั้งโปรแกรมให้เสร็จก่อน จากนั้นจึงจะปฏิบัติตามคำสั่งทีละคำสั่ง

1.3 Utility Program คือ โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำงานได้สะดวก รวดเร็วและง่ายขึ้น เช่น โปรแกรมที่ใช้ในการเรียงลำดับข้อมูล โปรแกรมโอนย้ายข้อมูลจากชนิดหนึ่งไปยังอีกชนิดหนึ่ง โปรแกรมรวบรวมข้อมูล 2 ชุดเข้าด้วยกัน โปรแกรมคัดลอกข้อมูลเป็นต้น

1.4 Diagnostic Program คือ โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อผิดพลาดในการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปแกรม QAPLUS โปรแกรม NORTON เป็นต้น และเมื่อพบข้อผิดพลาดก็จะแจ้งขึ้นบนจอภาพให้ทราบ

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Softwaer)   หมายถึง โปรแกรมที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้เขียนมาใช้งานเอง เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
   2.1 User Program คือ โปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนมาใช้เอง โดยใช้ภาษาระดับต่าง ๆ ทางคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษา BSDIC, COBOL, PSDCSL, C, ASSEMBLY FORTRAN ฯลฯ ซึ่งการที่จะเลือกใช้ภาษาใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงานเหล่านั้นด้วย เช่น โปรแกรมระบบบัญชี, โปแกรมควบคุมสต็อกสินค้า, โปแกรมแฟ้มทะเบียนประวัติ โปรแกรมคำนวณภาษี,โปรแกรมคิดเงินเดือน เป็นต้น
  2.2 Package Program คือ โปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างหรือเขียนขึ้นมาโดยบริษัทต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมที่จะนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้ทันทีตัวอย่างเช่น  
       2.2.1  โปรแกรมทางด้าน Word Processor      โปรแกรมทางด้าน Word Processor นั้น เป็นโปรแกรมที่ทำงานเกี่ยวกับทางด้านการประมวลผลคำ สามารถจัดทำเอกสาร รายงาน จดหมาย หนังสือต่าง ๆ ได้ ทำให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ สวยงาม เนื่องจากสามารถจัดรูปแบบงานตามต้องการได้รวมทั้งยังแก้ไขงานที่ทำได้ด้วย อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลาในการแก้ไขงาน และสามารถค้นหาข้อความต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก
         โปรแกรมที่จัดอยู่ในกลุ่ม Word Processor มีดังนี้ คือ WordStat, ราชวิถีเวิร์ด เวิร์ดจุฬา โปรแกรมเหล่านี้จะเป็นโปรแกรมที่ทำงานบน Dos นอกจากนั้นยังมีโปรแกรมที่ทำงานบนวินโดวส์อีกด้วย คือ Word Perfect, Microsoft Word และAmiPro โปรแกรมเหล่านี้จะใช้งานง่าย สะดวก สามารถจัดรูปแบบต่าง ๆ ได้ตามต้องการ รวมทั้งสามารถนำภาพมาประกอบกับงานเอกสาร หรือนำเอกสารจากโปรแกรมอื่นมาจัดรูปแบบในโปรแกรมเหล่านี้ก็ได้
      2.2.2  โปรแกรมทางด้าน Spreadsheet   โปรแกรมทางด้าน Spreadsheet เป็นโปรแกรมที่มีลักษณะเป็นกระดาษทำการขนาดใหญ่ หรือ เรียกว่า Worksheet ประกอบด้วยส่วนที่เป็น Row หรือแถวตามแนวนอนและส่วนที่เป็น Column หรือแถวตามแนวตั่ง ซึ่งใช้ในด้านการคำนวณเป็นส่วนมาก นอกจากนั้นยังมีการนำเสนอข้อมูลออกมาในรูปของกราฟโดยสร้างเป็นกราฟ 2 มิติและ 3 มิติได้อีกด้วย โปรแกรม Spreadsheet เหมาะกับการทำงานในด้านการบัญชี การเงิน การวิเคราะห์ข้อมูล หรืองานการคิดคะแนนและเกรดของนักศึกษา เป็นต้น   สำหรับโปแกรมที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ โปรแกรม Lotus ซึ่งมีทั้งที่ทำงานบน Dos และบน Windows, โปรแกรม Microsoft Excel โปรแกรมเหล่านี้สามารถจัดรูปแบบตัวอักษรและกำหนดขนาดตัวอักษร รวมทั้งสามารถตีกรอบ สร้างตารางระบายสีลงในเซลล์ต่าง ๆ ได้ นอกจากนั้นยังสามารถนำรูปกราที่สร้างไว้มารวมกับข้อมูลที่อยู่ใน Worksheet เดียวกันได้ ทำให้ได้งานที่สมบูรณ์ขึ้น
      2.2.3 โปรแกรมทางด้าน Database   โปรแกรมประเภทนี้เป็นโปรแกรมที่ทำงานทางด้านการจัดการฐานข้อมูล ช่วยจัดเก็บข้อมูล แก้ไข ค้นหา เพิ่มเติม รวมทั้งการจัดเรียงข้อมูล ทำให้ผู้ใช้สะดวกรวดเร็วสามารถทำงานได้เป็นระบบ โปรแกรม Database เหมาะกับการทำงานที่มีข้อมูลมาก ๆ เช่น การเก็บสต็อกสินค้าคงคลัง การเก็บประวัติพนักงาน การเก็บรายชื่อนักศึกษาในโรงเรียน การเก็บรายชื่อหนังสือในห้องสมุด เป็นต้น  โปรแกรมที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ โปรแกรม dBase lll Plus ซึ่งทำงานบน Dos โปรแกรม Foxpro ซึ่งมีหน้าที่ทำงานบน Dos และบน Windows, โปรแกรม Microsoft Access และในปัจจุบันมีโปรแกรม Visual Foxpro ซึ่งเป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่ทำงานบน Windows เช่นกัน
       2.2.4 โปรแกรมทางด้าน Graphic   โปรแกรม Graphic ส่วนมากแล้วจะเกี่ยวกับทางด้านงานออกแบบ เขียนแบบวาดภาพ จัดทำสิ่งพิมพ์และจะเป็นทางด้านการนำเสนองาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานโฆษณา ทำ Slide Show หรือนำไปใช้กับระบบ Multimedia ได้ ปัจจุบันโปรแกรมกลุ่มนี้เป็นที่นิยมมาก
        สำหรับโปรแกรมที่ทำงานทางด้าน Graphic นั้น มีอยู่หลายโปรแกรมและแต่ละโปรแกรมนั้น ส่วนใหญ่จะทำงานคล้ายกัน แต่มีบางคำสั่งที่แตกต่างกันไปดังนี้
       CorelDraw และ Photoshop จะทำเกี่ยวกับงานออกแบบ วาดภาพ จัดทำ สิ่งพิมพ์ ตกแต่งภาพให้สวยงาม เหมาะกับงานทางด้านโฆษณา
       Harvard Graphic, Freelance Graphic และ PowerPoint เหมาะกับงานที่ต้องการนำเสนอ หรือแสดงออกโดยการสร้าง Slide Show สามารถนำภาพและเสียงมาประกอบกับงานได้ ทำให้ได้ Presentation ที่สวยงามออกมา
       PageMakerเหมาะกับงานประเภทสิ่งพิมพ์ ใช้สร้างโบรชัวร์ แผ่นพับ ใบปลิว นามบัตร และการทำหนังสือ โปรแกรมที่นิยมใช้กับโรงพิมพ์มาก
      2.2.5 โปรแกรมเกม (Game)   เป็นโปรแกรมที่แพร่หลายเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ และปัจจุบันนี้มีโปรแกรมเกมต่าง ๆ มากมาย ทั้งแบบธรรมดาและแบบ 3 มิติ ซึ่งที่จริงแล้วโปรแกรมเกมส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นมา เพื่อช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดในการทำงานแต่ละส่วนใหญ่แล้วจะพบว่าเด็กจะเล่น เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินมากกว่า ผู้ใหญ่ควรควบคุมเกมที่เด็ก ๆเล่นด้วย เพราะบางเกมเป็นลักษณะของการต่อสู้ เพื่อให้เกิดชัยชนะ ซึ่งจะทำให้เด็กสร้างนิสัยผิด ๆ กลายเป็นเด็กที่ชอบเอาชนะคนอื่นชอบการต่อสู้ และอาจเป็นคนดุร้าย เห็นแก่ตัวได้

     2.2.6 โปรแกรมทางด้านการสร้างสถานการณ์จำลอง   เป็นโปรแกรมที่ให้ผู้เล่นได้ทดลองสร้างสถานการณ์จำลองของงานที่อาจจะเกิดขึ้นได้หรืออาจจะเรียกว่า เกมส์ทางธุรกิจ โดยให้ผู้เล่นได้รู้จักวางแผนในการทำงาน คิดถึงผลกำไรขาดทุนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ รู้จักจัดสรรงบประมาณที่มีอยู่ให้ได้ผลกำไรมากที่สุด

     2.2.7  โปรแกรมทางด้านการติดต่อสื่อสาร  เป็นโปรแกรมที่มักนิยมใช้ตามสำนักงานต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชนในการนัดหมายประชุม การทำจดหมายเวียนไปตามฝ่าย ต่าง ๆ โดยการเก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์แทนที่จะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ เพื่อแจ้งให้พนักงานทราบ ข้อดีของโปรแกรมชนิดนี้คือ ทำให้ประหยัดกระดาษลงไปได้มาก
      2.2. 8 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  โปรแกรมประเภทนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า CAI (Computer Assisted Instruction) เป็นโปรแกรมที่นำมาสอนให้กับนักเรียนในวิชาต่าง ๆ โดยที่นักเรียนจะเรียนกับโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์และครูเป็นผู้ชี้แนะ ทดสอบ และวัดความเข้าใจ รวมทั้งสรุปเนื้อหาที่นักเรียนได้เรียนจากโปรแกรม CAI นี้ ปัจจุบันโปรแกรมประเภทนี้เริ่มนำเข้ามาใช้ในโรงเรียนแพร่หลายมากขึ้น เพราะทุกโรงเรียนมีคอมพิวเตอร์ใช้ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนของครูวิธีหนึ่ง ที่ทำให้นักเรียนไม่รู้สึกเบื่อ และสนใจการเรียนมากขึ้นด้วย   สำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะใช้สร้างโปรแกรม CAI นั้นได้แก่ โปรแกรม Authorware และโปรแกรม ToolBook เป็นต้น

2.2. 9 โปรแกรมทางด้านการออกแบบ  โปรแกรมนี้ได้เข้ามาช่วยออกแบบงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานทางด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และงานออกแบบสินค้าต่างๆ ซึ่งสามารถสร้างได้ทั้งแบบที่เป็นภาพ 2 มิติ และภาพ 3 มิติ  สำหรับโปรแกรมทางด้านออกแบบที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ได้แก่ โปรแกรม AutoCAD ใช้กับงานออกแบบ เขียนแบบ ทั้งแบบ 2มิติ เขียนวงจรไฟฟ้า เหมาะกับนักสถาปนิก นักออกแบบตกแต่ง วิศวกรไฟฟ้า นอกจากนั้นยังมีโปรแกรมอื่นที่ใช้ร่วมกับ AutoCAD ได้อีกด้วย คือ โปรแกรม 3D Studio

คำถาม
1. ซอฟต์แวร์ระบบ ถ้าแบ่งตามหน้าที่การทำงานแบ่งเป็นอะไรบ้างอธิบายสรุป พอเข้าใจ


2. อธิบายความแตกต่างระหว่าง Assembler Interpreter และ Compiler

คอมพิวเตอร์กับงานสื่อประสม

สืบค้นข้อมูลแล้วตั้งคำถามและตอบเองตามหัวเรื่องต่อไปนี้ หัวเรื่องละ 2 ข้อ  ลงในช่องแสดงความคิดเห็น

1.  ความหมายของสื่อประสม
2.  องค์ประกอบของสื่อประสม
3.  ประโยชน์ของการนำสื่อประสมมาประยุกต์ใช้งานกับซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
4.  อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในงานสื่อประสม