18 ธ.ค. 2553

Embedded OS

ระบบปฏิบัติการแบบฝัง  Embedded  OS    
  ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded  OS)  ส่วนใหญ่ใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา เช่น Palm Pocket Pc , Smart phone  ซึ่งอาจแบ่งได้ดังนี้
       1.   Windows Mobile    เป็นระบบปฏิบัติการที่ผลิตโดยบริษัทไมโครซอฟท์ การทำงานของระบบปฏิบัติการนี้ เป็นลักษณะย่อความสามารถของ Windows ให้มีขนาดเล็กเหมาะกับการทำงานมากขึ้น สามารถรองรับการทำงานแบบ Multi-tasking  ได้  เช่น ท่องเว็บ  ค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต  ไปพร้อม ๆ กับการฟังเพลง  ถ้าผู้ใช้เคยใช้ระบบปฏิบัติการ Windows มาก่อนจะใช้งานได้ง่ายและสะดวกมาก เนื่องจากรูปแบบและหน้าต่างการทำงานจะคล้าย ๆ กัน ปัจจุบันมีใช้ในเครื่อง PDA และโทรศัพท์มือถือประเภท Smart phone

      2.  Palm OS  เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา พัฒนามาก่อน Windows mobile ปัจจุบันพัฒนาให้มีส่วนประสานงานหรืออินเตอร์เฟสให้น่าใช้มากกว่าเดิม และรองรับการทำงานผ่านเว็บด้วยสำหรับเครื่องบางรุ่น โดยตั้งชื่อใหม่ว่า Web OS

      3.  Symbian OS    เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายโดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือประเภท Smart phone สนับสนุนการทำงานแบบ Multi-tasking ทำให้โทรศัพท์มือถือสามารถท่องเว็บ รับส่งอีเมลล์  รวมถึงแฟกซ์ได้ในเวลาเดียวกัน   ผลิตโดยบริษัทซิมเบียน  ปัจจุบันมีบริษัทมือถือ เช่น Sony Ericsson Motorola  Nokia และ Sumsung ได้นำระบบปฏิบัติการนี้ไปใช้แล้ว

     4. OS X   เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่อง iPhone ซึ่งเป็นทั้งโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบพกพา เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับที่ใช้ในเครื่อง Mac  รองรับการทำงานแบบ Multi-tasking  มีโปรแกรมที่มาช่วยอำนวยความสะดวกร่วมด้วย เช่น ระบบเมลล์แบบ HTML การท่องเว็บด้วยบราวเซอรื Safari ระบบจัดการข้อมูลส่วนตัว ปฏิทินกำหนดการ
  
    5.  Android  ระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์พกพา พัฒนาโดยบริษัท Google มีโปรแกรมใช้งาน เช่น  SMS ปฏิทินกำหนดการ บราวเซอร์ สมุดโทรศัพท์ โปรแกรมดูวีดีโอจาก Youtube สารานุกรมออนไลน์ Wiki Mobile และแผนที่นำทางของ Google maps


ที่มา  หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ 
          ผู้แต่ง วิโรจน์ ชัยมูล สุพรรษา ยวงทอง

15 ธ.ค. 2553

Network OS

ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย  Network OS

1. Windows Server  เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ ผลิตมาเพื่อรองรับการใช้งานในระดับองค์กรขนาดเล้กและขนาดกลาง ส่วนใหญ่เหมาะกับการติดตั้งและใช้งานกับเครื่องแม่ข่าย (Server) ผลิตโดยบริษัทไมโครซอฟท์

2. Unix    เป็นระบบปฏิบัติการที่มักใช้กับผู้ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก รองรับการทำงานของผู้ใช้หลาย ๆ คน พร้อมกัน (Multi-User) การปรับเปลี่ยนและแก้ไขระบบต่าง ๆ มีความยืดหยุ่นในการทำงานได้ดีกว่า มีการพัฒนาระบบที่สนับสนุนให้ใช้งานได้ทั้งระบบเครือข่าย และแบบเดี่ยว




3.  Linux   ระบบนี้พัฒนาโดยอาศัยต้นแบบการใช้งานของระบบ Unix และใช้โค๊ดที่เขียนและเผยแพร่ในแบบ Open source ที่เปิดเผยโปรแกรมต้นฉบับให้ผู้ใช้สามารถพัฒนาและแก้ไขได้เอง    มีทั้งแบบที่ใช้สำหรับงานควบคุมเครือข่าย และแบบที่ใช้สำหรับผู้ใช้คนเดียว



4.  OS/2 Warp Server  เป็นระบบปฏิบัติการที่เหมาะสำหรับเครือข่ายในองค์กร พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็ม แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม และเลิกพัฒนาไปแล้ว


5.  Solaris  
เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่อยู่ในตระกูลเดียวกับระบบปฏิบัติการ Unix พัฒนาโดยบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์

Stand-Alone OS

ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand-Alone OS)   ได้แก่ ระบบปฏิบัติการต่อไปนี้

1.  DOS (Disk Operating System)
เป็นระบบปฏิบัติการซึ่งได้มีการพัฒนาขึ้นเมื่อประมาณปี 1980 เพื่อใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นหลัก ทำงานโดยใช้การป้อนชุดคำสั่งที่เรียกว่า command line ซึ่งต้องป้อนทีละบรรทัดเพื่อให้เครื่องปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ๆ ผลิตขึ้นครั้งแรกมีชื่อเรียกว่า PC-DOS เพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็ม ภายหลังเมื่อเครื่องได้รับความนิยมมากขึ้นจนเกิดเครื่องที่ผลิตขึ้นมาเลียนแบบอย่างมากมายคล้ายกับเครื่องของIBM บริษัทไมโครซอฟท์ซึ่งมีทีมงานที่เคยผลิต PC-DOS ให้กับ IBM มาก่อนจึงได้ทำระบบปฏิบัติการแบบใหม่ออกมาเป็นของตนเองและเรียกว่า MS-DOS


2.  Windows   
จากข้อจำกัดของ DOS ที่ต้องป้อนคำสั่งการทำงานทีละคำสั่งซึ่งทำให้ผู้ใช้ต้องจดจำยุ่งยาก บริษัทไมโครซอฟท์จึงได้นำแนวคิดระบบการใช้งานแบบ GUI (Graphical User Interface) มาผลิตระบบปฏิบัติการตัวใหม่ที่มีชื่อว่า Windows เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว  โดยระบบปฏิบัติการแบบ Windows เป็นการนำเอารูปสัญลักษณ์ที่เป็นภาพกราฟิกเข้ามาแทนการป้อนข้อมูลคำสั่งทีละบรรทัด โดยใช้หลักการแบ่งงานออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่าหน้าต่างงาน ซึ่งแสดงผลลัพธ์ของแต่ละโปรแกรม ปัจจุบันได้รับความนิยมในการใช้งานอย่างแพร่ลายและมีการผลิตและจำหน่ายออกมาหลายรุ่น ขณะนี้ Windows 7 เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด

3. Mac OS X    

เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ขอบบริษัทแอปเปิ้ลเท่านั้น ซึ่งเน้นการใช้งานประเภทสิ่งพิมพ์ กราฟิก และศิลปะเป็นหลัก รูปแบบการทำงานต่าง ๆ ของ Mac OS X จะมีระบบสนับสนุนแบบ GUI เช่นเดียวกับระบบปฏิบัติการ Windows


ประเภทของระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน ซึ่งนำไปใช้ได้กับคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิดตั้งเครื่องระดับใหญ่ จนถึงคอมพิวเตอร์แบบพกพา อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.  ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว ( Stand-alone OS)  เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว นิยมใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน ซึ่งถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้ไว้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์รายงาน ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมเข้าสู่อินเตอร์เน็ต

2.  ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS)  เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลาย ๆ คน (Multi-User) นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ มักพบได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้จะเรียกว่าเครื่อง Server ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้

3. ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (embeded OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอ หรือ Smart phone บางรุ่น สามารถช่วยในการทำงานของอุปกรณ์แบบไม่ประจำที่เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี เป็นระบบปฏิบัติการที่มีเกิดขึ้นหลังสุดพร้อมๆ กับที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาเหล่านี้ได้รับความนิยมมากขึ้น บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวด้วย เช่น รองรับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมต่อินเตอร์เน็ตได้

ที่มา :  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ วิโรจน์ ชัยมูล สุพรรษา ยวงทอง กรุงเทพฯ โปรวิชั่น 2552 หน้า 76-77

ช่วยหน่อย :  อธิบายลักษณะสำคัญของระบบปฏิบัติการแต่ละประเภทพอสังเขป

Operating System

ระบบปฏิบัติการ ( Operating System  - OS ) เป็นซอฟแวร์ที่เอาไว้ใช้สำหรับควบคุม และประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด  ทุกเครื่องจำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการติดตั้งอยู่  เราจะพบเห็นระบบปฏิบัติการอยู่ในคอมพิวเตอร์ทุกประเภท ตั้งแต่ขนาดใหญ่อย่างเมนเฟรม จนถึงระบบเล็กสุดเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาประเภทพีดีเอ

คุณสมบัติการทำงานของ ระบบปฏิบัติการ
 1.  การทำงานแบบ Multi -Tasking  
      ในสมัยก่อนการทำงานของระบบปฏิบัติการจะอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า single-tasking คือการทำงานทีละโปรแกรม ไม่สามารถสลับการทำงานไปมาระหว่างโปรแกรมได้ แต่สำหรับในปัจจุบันจะพบการทำงานลักษณะ Multi-tasking คือ การทำงานที่สามารถทำงานหลาย ๆ งาน หรือ หลาย ๆ โปรแกรมในเวลาเดียวกัน เช่น พิมพ์รายงานควบคู่ไปกับการเล่นอินเตอร์เน็ต ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ Windows ซึ่งทำงานได้สะดวกและหลาย ๆ โปรแกรมควบคู่กันไป
2.  การทำงานแบบ Multi-User
     ระบบปฏิบัติการที่สามารถในการทำงานกับผู้ใช้หลาย ๆ คน ขณะที่มีารประมวลผลของการทำงานพร้อม ๆ กัน ทำให้การทำงานกระจายใช้ได้ทั่วถึงมากขึ้น โดยต้องเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกันแบบเครือข่าย และใช้ระบบปฏิบัติการที่มีคุณสมบัติที่เรียกว่า multi-user
...........................................................................................................................
ช่วยตอบหน่อย  :  บอกความแตกต่างระหว่างคุณสมบัติการทำงานของระบบปฏิบัติการระหว่าง การทำงานแบบ Multi -Tasking  และ การทำงานแบบ Multi -User

8 ธ.ค. 2553

การจัดหาซอฟต์แวร์มาใช้งาน

โดยปกติเราสามารถหาซอฟต์แวร์มาใช้งานได้หลายๆวิธีอาจอยู่ในรูปแบบของการจัดซื้อโดย ตรงกับบริษัทผู้ผลิตหรือใช้ตัวอย่างทดลองจากการดาวน์โหลดบนอินเทอร์เน็ตก็ได้ พอสรุปวืธการเลือกของซอฟต์แวร์ได้ดังนี้


 ก. แบบสำเร็จรูป(Package หรือ Ready -made Software)
      แบบนี้ผู้ใช้สามารถหาซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ผลิตโดยตรง ซึ่งมักมีการเตรียมบรรจุภัณฑ์และเอกสารคู่มือการใช้งานไว้อยู่แล้ว และผู้ใช้นำไปติดตั้งเพื่อใช้งานได้ทันที โดยซื้อได้ทั้งจากตัวแทนบริษัทและเว็บไซต์ของบริษัทผู้ผลิต
 ข.แบบว่าจ้างทำ(Customized หรือ Tailor-made Software)  
       ซอฟต์แวร์ประเภทนี้เหมาะสำหรับบริษัท หน่วยงาน ไม่สามารถนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้งานได้ ก็สามารถว่าจ้างบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ผลิตซอฟต์แวร์ที่ตรงกับความต้องการของหน่วยงานของตน ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างเขียนซอฟต์แวร์ที่แพงกว่าซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
ค. แบบทดลองใช้(Shareware)
      บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ มักจะมีโปรแกรมเพื่อให้ลูกค้าทดลองใช้งานก่อนได้ แต่อาจมีกำหนดเวลาในการทดลองใช้ เช่น 30 วัน เพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้าทดลองใช้ก่อนตัดสินใจซื้อ
ง. แบบใช้งานฟรี(Freeware)
    เป็นซอฟต์แวร์ที่แจกให้ใช้งานฟรี มักเป็นโปรแกรมขนาดเล็กมีให้ดาวน์โหลดบนอินเตอร์เน็ต แต่ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ ลิขสิทธิ์ยังคงเป็นเจ้าของหรือบริษัทผู้ผลิตอยู่ บุคคลทั่วไปไม่สามารถนำไปพัฒนาต่อได้

จ. แบบโอเพ่นซอร์ส(Public-Domain/-Open Sourse)
    เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้ใช้งานฟรี และผู้ใช้สามารถนำไปพัฒนาโปรแกรมต่อให้มีความสามารถมากยิ่งขึ้นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ฉ. ระบบปฏิบัติการ(OS-Operating System)
     เป้นซอฟต์แวร์ที่เอาไว้สำหรับควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ


ช่วยตอบหน่อย ...  ถ้าคุณจะใช้โปรแกรมค้นหาคำศัพท์ (dictionary) คุณจะเลือกใช้โปรแกรมประเภทใด เพราะเหตุใด

องค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์ คือ กลุ่มของชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ ทำงานได้ตามที่ต้องการที่คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างอัตโนมัติ โดยที่มนุษย์ไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องในการประมวลผลนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการทำงานของซอฟต์แวร์นั่นเอง โดยปกติแล้วผู้ที่เขียนชุดคำสั่งนี้ขึ้นมาเรามักเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (program)
โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
      1. ซอฟต์แวร์ระบบ(System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการทำงานที่ใกล้ชิดกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยจะทำหน้าที่ติดต่อ ควบคุม และสั่งการให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกันให้ได้มากที่สุด รวมถึงการบำรุงรักษาระบบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีการใช้งานได้ยาวนานขึ้นอีก ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกได้เป็น2ประเภทด้วยกันคือ
              1.1  ระบบปฏิบัติการ (operating system)
              1.2  โปรแกรมอรรถประโยชน์(utility programs)
     2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application Software)เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้านเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ แต่จะทำงานได้โดยเรียกใช้อุปกรณ์ต่างๆผ่านซอฟต์แวร์ระบบอีกทอดหนึ่ง ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะของเกณฑ์ที่ใช้แบ่ง พอจะสรุปได้ดังนี้

       2.1 แบ่งตามลักษณะการผลิตได้ 2 ประเภทคือ
              - ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ (Proprietary Software)
              - ซอฟต์แวร์ที่จัดหาซื้อโดยทั่วไป(Off-the-Sofware หรือ Packaged Software)

     2.2  แบ่งตามกลุ่มการใช้งานได้ 3 กลุ่มใหญ่คือ
             - กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ (business)
            - กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟฟิกและมัลติมิเดีย (graphic and multimededia)
           - กลุ่มสำหรับการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร(web and communication)


ที่มา :  http://learners.in.th/blog/wanput/259856

15 ส.ค. 2553

ใช้ โน็ตบุ๊ค ให้ถูกวิธี

ใช้ โน็ตบุ๊ค ให้ถูกวิธี


  •  อย่าเคลื่อนที่ โน๊ตบุ๊ค ขณะที่ฮาร์ดไดร์ฟกำลังทำงานอยู่ หรือ ขณะที่เปิดเครื่องใช้งานอยู่
  • ควรดึงแผ่นดิสก์ ออกจากช่องเสียบซีดีรอม ก่อนทำการเคลื่อนย้าย โน๊ตบุ๊ค
  • ก่อนพับฝาปิด ควรปิดเครื่อง หรือคลิกที่โหมดพักหน้าจอก่อน
  • ตรวจสอบให้เรียบร้อยว่าเอาสายต่างๆ ออกจากตัวเครื่องหมดแล้ว ก่อนทำการโยกย้ายเครื่อง…เดี๋ยวสะดุด 555
  • ใช้กระเป๋าสำหรับ โน๊ตบุ๊ค โดยเฉพาะ เพื่อป้องกันตัวเครื่อง และ หน้าจอเสียหาย จากการกระแทก หรือ รอยกดทับ รอยขีดข่วนต่างๆ
  • อย่าเดินถือ โน๊ตบุ๊ค โดยไม่ใส่ในหระเป๋า ในช่วงที่อากาศแปรปวน เพื่อป้องกันสิ่งสกปรก หรือโดนน้ำ หรือความชื้นจากอากาศรอบข้าง

20 มิ.ย. 2553

เรื่องน่ารู้ของ Ms-word 2007

1. เมนูและไอคอน หาย เปลี่ยนเป็น Ribbon แทน
2. ไฟล์ที่บันทึก (Save) เดิมมีนามสกุล .DOC ของใหม่เปลี่ยนเป็น .DOCX
3. การปรับแต่งโปรแกรมจากเมนู Options ถูกย้ายมาสู่ Office Button แล้ว ให้คลิกเลือก จะอยู่มุมขวาล่าง "Word Options"
4. เราสามารถปรับเปลี่ยนการบันทึกไฟล์จาก .DOCX เป็น .DOC ได้ เพื่อแก้ปัญหาคนอื่น ไม่สามารถเปิดดูได้โดยการเข้าไปที่ "Word Options" เลือกหัวข้อ "Save" จากนั้น ให้เลือก "Save files in this format" ให้เลือกเป็น "Word 97-2003 Document"
5. ถ้าต้องการบันทึก ให้คลิกไอคอนวงกลมด้านบนซ้ายสุด (Office Button) จะมีเมนูให้เลือก Save

19 มิ.ย. 2553

USB คือ อะไร...?

USB คืออะไร…?


USB ย่อมาจาก Universal Serial Bus เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าด้วยกัน เช่น เชื่อมต่อ Flash Drive, เชื่อมต่อ กล้องวีดีโอ หรือแม้กระทั่ง เชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือเข้ากับคอมพิวเตอร์เป็นต้น ปัจจุบันอุปกรณ์ประเภทไฮเทคต่างๆ มักอาศัยการเชื่อมต่อด้วยพอร์ต USB เป็นหลัก

USB เวอร์ชั่น 3.0 (รับประกับความเร็วในการ copy ข้อมูล ที่จะทำให้คุณประทับใจ..)

เวอร์ชั่น 3.0 เป็นเวอร์ชั้นล่าสุดของ USB ที่มีการปรับปรุงความสามารถในโอนถ่ายข้อมูลได้มากกว่าเดิมมาก ซึ่งปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ใช้ USB เวอร์ชั่น 2.0 หรืออาจจะแย่กว่านั้น คือ เวอร์ชั่น 1.1 ซึ่งให้ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลต่ำสุด

ความแตกต่างระหว่าง USB 2.0 กับ USB 3.0

• ความเร็ว หรือ Speed  ความแตกต่างที่ใช้สำหรับการวัดประสิทธิภาพของพอร์ต USB แต่ละรุ่นคือ ความเร็ว โดยความเร็วของพอร์ต USB 2.0 อยู่ที่ 480 Mbps สำหรับเวอร์ชั่น 3.0 ความเร็วอยู่ที่ 4.7 Gbps ซึ่งเปรียบเทียบแล้ว USB 3.0 จะมีความเร็วกว่า USB 2.0 เกือบสิบเท่าตัว ดังนั้น เวลาเราต้องการโอนถ่ายไฟล์ใหญ่ โดยเฉพาะกับไฟล์วีดีโอ จะทำให้สามารถโอนได้เร็วในพริบตาเลยทีเดียว

• ประหยัดไฟ  ด้วยการออกแบบใหม่ของ USB 3.0 ทำให้สามารถประหยัดพลังงานไฟฟฟ้าได้ด้วย

จ่ายกระแสไฟฟ้าได้มากกว่า   USB 3.0 สามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ได้มากขึ้น ทำให้สามารถรองรับการเชื่อมต่อผ่าน HUB และรองรับการจ่ายไฟได้มากขึ้น

ก่อนการซื้ออุปกรณ์ที่มีพอร์ต USB 3.0    ต้องตรวจสอบให้ดีก่อนว่า Windows ที่เราใช้งานรองรับการใช้งาน USB 3.0 หรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม พอร์ต USB 3.0 ก็สามารถใช้งานร่วมกับ USB 2.0 และ USB 1.1 ได้อย่างไม่มีปัญหา ปัจจุบัน เริ่มมีคอมพิวเตอร์บางยี่ห้อ ได้ออกพอร์ต USB 3.0 แล้ว

11 พ.ค. 2553

เทคโนโลยีสารสนเทศ 2

เทคโนโลยีสารสนเทศ1

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ


ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
                ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ   หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม


ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
               ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน

ความหมายของข้อมูล
            ข้ออมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว


ความหมายของสารสนเทศ
                 สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้


องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์
              ระะบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based information systems CBIS) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ฐานข้อมูล (database) เครือข่าย (network) กระบวนการ (procedure) และคน (people)

       ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ และผลิต เอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ

      ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน

      ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

     เครือข่าย (Network)    คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสาร

     กระบวนการ (Procedure)   ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์ วิธีการ และกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ระบบสารสนเทศ

     คน (People) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ เช่น ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้ระบบ



ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ

  ก.  ประสิทธิภาพ (Efficiency) 
     1.  ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม ประมวลผลและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็วระบบสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล (access) เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วย
     2.  ช่วยลดต้นทุน การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง กับข้อมูลซึ่งมีปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมาก
    3. ช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน (machine to machine) หรือคนกับคน (human to human) หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (human to machine) และการติดต่อสื่อสารดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้ทันที
    4.ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ เป็นไปได้ด้วยดีโดยเฉพาะหาระบบสารสนเทศนั้นออกแบบเพื่อเอื้ออำนวยให้หน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของซัพพลายทั้งหมด จะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และทำให้การประสานงาน หรือการทำความเข้าใจเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น

ข. ประสิทธิผล (Effectiveness)
     1. ระบบสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ออกแบบสำหรับผู้บริหาร เช่น ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision support systems) หรือระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive support systems) จะเอื้ออำนวยให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจได้ดีขึ้น อันจะส่งผลให้การดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ไว้ได้
     2. ระบบสารสนเทศช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/ บริการที่เหมาะสมระบบสารสนเทศจะช่วยทำให้องค์การทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน ราคาในตลาดรูปแบบของสินค้า/บริการที่มีอยู่ หรือช่วยทำให้หน่วยงานสามารถเลือกผลิตสินค้า/บริการที่มีความเหมาะสมกับความเชี่ยวชาญ หรือทรัพยากรที่มีอยู่
     3. ระบบสารสนเทศช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/ บริการให้ดีขึ้นระบบสารสนเทศทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยงานและลูกค้า สามารถทำได้โดยถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ดังนั้นจึงช่วยให้หน่วยงานสามารถปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/ บริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้นด้วย

ค. ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)

ง. คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality o f Working Life)



ที่มา  http://www.bcoms.net/temp/lesson1.asp